Categories
คำแนะนำสินค้า บทความ รายละเอียดสินค้า

มากกว่าแค่กำจัดวัชพืช

“พลาสติกคลุมดินกำจัดวัชพืช” เป็นมากกว่าแค่กำจัดวัชพืช ช่วยเพิ่มความสามารถในการใช้พื้นที่ๆ มีอยู่ แต่ยังไม่ถูกใช้งาน ได้อย่างคุ้มค่า ☘️

😎 วันนี้เราพาท่านไปดูโรงเรือนภายใต้แนวคิด “ทำงานครั้งเดียว” ตั้งแต่เริ่มต้น เป็นโรงเรือนที่มีการคิดคำนวณมาอย่างดีเยี่ยม สามารถใช้งานพื้นที่ในโรงเรือน ทั้งแนวตั้งและแนวราบได้เต็มพื้นที่ อีกทั้งยังดูแลรักษาง่าย มีความสวยงาม สามารถต่อยอดให้ลูกค้าเข้าเยี่ยมชมแล้วเกิดความประทับใจ

พลาสติกคลุมดินกำจัดวัชพืช คืออะไร?

🤔 เป็นผืนพลาสติกประเภทสาน(จักสาน) โดยใช้เส้นเทปทึบแสง เพื่อให้แสงไม่สามารถผ่านลงไปได้ และด้วยการจักสานนี่เองทำให้มีช่องว่างระหว่างเส้นเทป จึงมีคุณสมบัติที่น้ำสามารถซึมผ่านได้

ความสามารถในการกำจัดเกิดจากปัจจัยใดบ้าง?

🌱 เกิดจากความทึบแสง และความหนาแน่นในการทอ กล่าวคือ เส้นเทปที่ทึบแสงทำให้แสงผ่านลงไปไม่ได้ แต่แสงบางส่วนก็ยังสามารถผ่านได้ตามช่องว่างระหว่างเส้นเทปได้ อีกทั้งวัชพืชบางชนิดก็สามารถขึ้นได้แม้ไม่มีแสงหรือมีแสงเพียงเล็กน้อยก็สามารถเติบโตได้ ความหนาแน่นในการสานจะมาช่วยให้หน่อของวัชพืชเหล่านั้นแทรกตัวขึ้นมาได้ยากขึ้น

⭐ สำหรับท่านที่มีโรงเรือนแล้ว หรือกำลังมีแผนที่จะสร้าง จะทราบดีว่าการปลูกในโรงเรือนนั้นเรามักจะปลูกบนวัสดุอื่นที่ดินเดิมของพื้นที่นั้น เช่น กระถาง โต๊ะปลูก แปลงยก(raised-bed) เป็นหลัก

☀ จึงเป็นเหตุให้พื้นหรือฐานโรงเรือนไม่ถูกนำมาใช้เป็นเรื่องหลัก มักเป็นเพียงการปรับพื้นให้เรียบโดยดินเดิม หรือนำทราย หินกรวดเข้ามาช่วยปรับเพิ่ม และนานเข้าก็ไม่พ้นปัญหาวัชพืชตามทางเดิน ใต้โต๊ะปลูก

🪴 หากมองโดยรวมก็เป็นปัญหาเล็กๆ โต๊ะปลูกเราก็ยกขึ้นมาแล้ว หรือพื้นที่ปลูกเราก็กันส่วนไว้แล้ว แต่หากคิดอีกมุมหนึ่งเรากำลังมีปัญหากับ “การจัดการโรงเรือนในระยะยาว”

  • วัชพืชที่ขึ้นนอกบริเวณปลูก สุดท้ายเราก็ต้องลงแรงรื้อถอน
  • ระหว่างที่มีวัชพืช จะเป็นที่ซ่อนของแมลงนอกแปลงไหม?
  • นอกแปลงปลูกเราก็ยังต้องฉีดพ่นยา(หรือชีวภัณฑ์)กำจัดแมลงไหม?
  • วัชพืชรอบแปลงจะกินปุ๋ยเราแทนพืชหลักของเราไหม?

🌾 สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนแฝงเล็กๆ น้อยๆ เป็นปัญหาจุกๆ จิกๆ ที่ไม่ต้องนำมาคิดก็ได้

แต่การปูพื้นภายในโรงเรือนด้วยพลาสติกคลุมดินกำจัดวัชพืช ภายใต้แนวคิด “ทำงานครั้งเดียว” จะทำให้ปัญหาจุกจิกหายไปทันที

🌿 นอกจากช่วยแก้ปัญหาจุกจิกเหล่านั้นแล้ว เมื่อเรามีปูพลาสติก คลุมดินกำจัดวัชพืช ก่อนนี้พื้นที่เหล่านั้นอาจะเป็นเพียงทางเดิน หรือพื้นที่ใต้โต๊ะปลูกที่วัชพืชขึ้น ตอนนี้เราก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย

  • คำนวณการเทพื้นปูคอนกรีต 10 เซนติเมตร 
    • -ค่าปรับพื้น โดยรวมค่าแรงตารางเมตรละ 80-100 บาท
    • -ค่าคอนกรีต สเตรน 240 ตารางเมตรละ 160-180 บาท
    • -ค่าไวร์เมต ตร.ม. ละ 40-50 บาท
    • -ต้องติดตั้งโดยช่างที่มีอุปกรณ์
  • คำนวณใช้พลาสติกคลุมดินกำจัดวัชพืช
    • -ค่าปรับพื้น โดยรวมค่าแรงตารางเมตรละ 80-100 บาท
    • -ค่าพลาสติก ตารางเมตรละ 17-40 บาท
    • -สามารถติดตั้งพลาสติกได้ด้วยตนเอง

👍จะเห็นว่าการใช้พลาสติกคลุมดินกำจัดวัชพืชเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ ลดต้นทุนการสร้างโรงเรือนได้จริง ติดตั้งง่ายไม่ซับซ้อน และเมื่อมีการเปลี่ยนแผนหรือย้ายสถานที่ก็ยังสามารถถอดย้ายได้

🤙🏻โรงเรือนเป็นการลงทุน หากเดิมไม่มีแผนในส่วนของพื้นหรือฐานโรงเรือนอยู่แล้ว การลงทุนเพิ่มอีกเล็กน้อย แต่ช่วยขจัดปัญหาจุกจิกในระยะยาวก็เป็นสิ่งที่น่านำมาพิจารณา

🌵อีกทั้งการลงทุนพลาสติกคลุมดินกำจัดวัชพืชยังช่วยให้พื้นที่ๆ อาจเคยถูกมองข้ามไปถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ แม้แต่ใต้โต๊ะปลูกก็สามารถใช้งานได้

ปัจจุบันเรามีพลาสติกคลุมดินกำจัดวัชพืชตามความเหมาะสมอยู่ดังนี้

🍀 รุ่น UV ที่ความหนา 100-110 กรัมต่อตารางเมตร ให้ความ คุ้มค่าสูง ใช้งานกลางแจ้งได้ ทนต่อการเดินเหยียบย่ำเป็นอย่างดี 

🪴 รุ่น Super UV ที่มีความหนามากขึ้นมาอยู่ที่ 230-240 กรัมต่อ ตารางเมตร เพิ่มอายุการใช้งาน ความหนาแน่นสูง ลดปัญหาหญ้าขึ้นแทรก รับแรงกดทับได้ถึง 120 กิโลกรัมต่อตารางเมตร 

Categories
คำแนะนำสินค้า บทความ

วิธีการเลือกสี – แสลนกรองแสง

ทำไมเราจึงมีแสลน?🤔

คำตอบที่สามารถตอบได้ทันทีเลยคือ “บังแดด” หรือ “แสงมันมากเกินไป เราเอามากันแสง”😎

แต่ถ้าถามต่อว่า ทำไมแสลนมีหลายสีจัง มันต่างกันยังไง?🌱

คำตอบที่ได้จะเริ่มคลุมเครือ และเริ่มเป็นคำตอบเชิงอารมณ์มากกว่าเหตุปัจจัยจริงๆ เช่น “สีนี้มันสวยดี” “สีนี้เหมาะเข้ากับตัวบ้านดีนะ”

☘️บทความนี้จะพาท่านไปหาเหตุและผลต่างๆสำหรับการเลือกใช้แสลนกรองแสงตามหลักวิชาการ ความต้องการของพืช และวิธีการรู้ความต้องการเบื้องต้นของพืช

ก่อนจะพาไปในเรื่องราวที่ลึกกว่านี้ เราต้องเข้าใจเรื่องของแสงแบบเบื้องต้นกันก่อน 😤
1.แสงที่เราเห็นเกิดจาก แสงไปกระทบวัตถุต่างๆ แล้วสะท้อนเข้าตาเรา
2.แสงที่เราเห็นเกิดจาก แสงหลายๆสีผสมกันอยู่ แบ่งเป็นแม่สีได้ดังนี้ แสงสีแดง แสงสีเขียว แสงสีน้ำเงิน

ต้นไม้เห็นแสงเหมือนกับที่เราเห็นไหม?☘️

คำตอบ คือ ไม่ ต้นไม้ไม่ได้เห็นแสงเหมือนกับเรา โดยเราสามารถสังเกตง่ายๆนั้น คือ ใบของต้นไม้ที่เราเห็นเป็นสีเขียว เกิดจากใบของต้นไม้ดูดซับแสงสีอื่นๆเข้าไปหมด ยกเว้นแสงสีเขียว

เราจึงเห็นสีเขียวที่ใบไม้สะท้อนเข้าตาเรา🧐

เรามาดูหลักการเบื้อนต้นของแสลนกันบ้าง

🌤 แสลนกรองแสง – ลดแสง หรือจะเรียกชื่อว่าอะไรก็แล้วแต่ หลักการจริงๆที่เราใช้ คือ หลักการของ “เงามัว : Penumbra” ทั้งหมด ซึ่งการเกิด “เงามัว” ของพลาสติกแต่ละอย่างจะไม่เหมือนกัน เช่น

1.แผ่นฟิล์มกรองแสง ☂️ (นิยมใช้ในวงการยานยนต์) ซึ่งจะเกิดเงามัวเท่ากันทั้งหมดในพื้นที่ของฟิล์ม ตัวฟิล์มมีลักษณะไม่ทึบแสง เพื่อให้แสงผ่านตามปริมาณที่กำหนด (Light Transmission Ratio)

2.แสลนกรองแสง ☔️ (นิยมใช้ในวงการก่อสร้าง และการเกษตร) เกิดจากเส้นเทป(หรือด้าย)ที่มีลักษณะทึบแสงกว่ามากเมื่อเทียบกับประเภทฟิล์ม จากนั้นทำให้เกิดเงามัวจากการ “ถัก” หรือ “ทอ” โดยวางระยะเส้นเทปตามที่กำหนด เพื่อบีบปริมาณแสงตามที่ต้องการ

🌓 สัดส่วน หรือเปอร์เซ็นต์การกรองแสงของแสลน คืออะไร?

คือสัดส่วน ของแสงที่กรองไว้โดยเทียบจากแสลนสีดำเป็นหลัก เช่น กรองแสงสีเทา-เงินที่เราใส่สารเพิ่มการสะท้อนแสงในเส้นเทป แม้ว่าจำนวนเส้นเทปต่อตารางนิ้วจะเท่ากันกับสีดำ สีเทา-เงินย่อมปล่อยแสงผ่านมากกว่าสีดำ เป็นต้น

เช่นเดียวกันกับแสลนสีอื่นๆ เช่น สีขาว หรือสีเขียว เนื่องจากเส้นเทปของสีเหล่านี้ไม่ทึบแสง 100% จึงทำให้แสงบางส่วนผ่านเส้นเทปเข้าไปได้มากกว่าสีดำ และสีของแสงก็ถูกเปลี่ยน(ดูดกลืน และสะท้อน)ไปตามสีของแสลนนั้นๆ

การเลือกซื้อแสลนสีเขียว

สีเขียวเป็นสีที่มีผลต่อพฤติกรรมของพืชเด่นชัดที่สุด โดยอาศัยการอธิบายจากสีของใบไม้ ที่ดูดกลืนแสงสีอื่นๆเข้าไปหมด แล้วสะท้อนแสงสีเขียวเข้าตาเรา

นั้นหมายความว่า ใบของพืชจะใช้ประโยชน์จากแสงสีอื่นๆ การที่เราเปลี่ยนสีของแสงให้เป็นสีเขียวนั้น ทำให้พืชได้ประโยชน์น้อยลงจนถึงไม่ได้เลย และเพื่อให้ตนเองรอด พฤติกรรมของต้นไม้จึงทำการยึดตัวเองเพื่อหาแสงให้ได้มากขึ้น พืชที่อยู่ใต้แสลนสีเขียวนานๆ จะมีลำต้นยืดหรือแขนงต่างๆยื่นเข้าหาแสงที่ยาวกว่าปกติ

🐠 แสลนสีเขียวเหมาะสมกับงานที่ต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมของพืช เหมาะกับบ่อน้ำ บ่อเลี้ยงกบ หรือสระน้ำที่ต้องการลดการเกิดของตะไคร่น้ำภายในบ่อ 🐸

การเลือกซื้อแสลนสีแดง และสีน้ำเงิน(ฟ้า)

เป็นสีของแสงที่พืชใช้ประโยชน์ได้ทั้งพืชใบ และพืชผล ซึ่งแต่ละสีจะมีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมพืชที่ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับพืชชนิดนั้นๆอีกทีหนึ่ง เช่น พืชผลบางประเภทที่ใช้แสลนสีแดงจะมีพฤติกรรมติดดอกมากกว่าปกติ หรือพืชใบที่ใช้แสลนสีน้ำเงินจะทำให้ใบมีสีเข้มขึ้นมากกว่าปกติ เมื่อเทียบการใช้แสลนสีดำในสัดส่วนที่เท่ากัน

🦗นอกจากพืชแล้วแสลนสีต่างๆยังมีผลต่อแมลงด้วย เช่น สีแดง หรือสีเหลืองที่ส่งผลให้แมลงบางชนิดมีการตาบอด ไม่สามารถเข้าใกล้หรือเข้าในบริเวณที่ใช้แสลนสีดังกล่าวได้🐞

การเลือกซื้อแสลนสีเทา-เงิน และสีขาว ☀️

⛅️เป็นสีกลางๆที่ไม่เปลี่ยนแปลงสีของแสงจนมีผลต่อพฤติกรรมของพืช ประโยชน์ของแสลนกลุ่มนี้จะเป็นเรื่องความต้องการแสงและใช้ประโยชน์อื่นๆที่แสลนสีดำทำไม่ได้ เช่น

🌸โรงดอกไม้ หรือกล้วยไม้กลางแจ้งโดยปกติจะใช้แสลน 60% สีดำ โดยให้แสงผ่านประมาณ 40% แต่เมื่อเข้าฤดูมรสุมแสลน 60% นั้นเส้นเทปยังมีความห่างพอสมควร ทำให้แรงลมในโรงเรือนต้นไม้มีความรุนแรงส่งผลให้ช่อหัก หรือดอกเสียหาย 🌬

🌦 กรณีเดียวกันถ้าเปลี่ยนเป็นแสลนสีเทา-เงินที่ความถี่ 80% เส้นเทปจะเรียงชิดแน่น แต่ยังให้แสงผ่าน 40% เท่ากัน เมื่อมีมรสุมเข้า ด้วยเส้นที่เรียงชิดแน่นช่วยลดแรงลมที่ผ่านเข้าโรงเรือน ป้องกันความเสียหายของสวนได้

️ขอบคุณผู้สนใจทุกท่านที่อ่านกันมาจนจบ สิ่งที่เราคิดไว้ตอนเริ่มเขียนบทความนี้ คือ “ควรรู้ก่อนซื้อ ดีกว่าซื้อแล้วรู้ที่หลัง”👍

💝เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความเล็กๆของเราจะช่วยต่อเติม และช่วยเหลือให้เกษตรกรที่ผู้ใช้งานลดภาระค่าอุปกรณ์ลง และสามารถแข่งขันได้

หากมีส่วนใดของบทความมีความสับสนไม่ชัดเจน สามารถคอมเม้นสอบถามเข้ามาได้เลย ทางเรามีทีมงานคอยให้ข้อมูล😘

แสลนตราฉลาม เป็นแสลนที่อยู่คู่กับเกษตรกรมากว่า 20 ปี ถูกพิสูนจ์มาตรฐาน และคุณภาพความทนทานมากอย่างยาวนาน

🛍หากต้องการสั่งซื้อสามารถสั่งได้ผ่านระบบออนไลน์

กดที่ลิ้งได้เลย http://bit.ly/2NEvKwL

🛒หากท่านต้องการสั่งซื้อแบบจำนวนมาก เป็นร้านค้า หรือต้องการนำสินค้าไปจำหน่ายต่อ 

กรุณาติดต่อฝ่ายขาย : 034-410-767 (6 คู่สาย)

Line ID : @kongsawat.com หรือผ่าน http://bit.ly/35I2jPe

Categories
คำแนะนำสินค้า บทความ

ความเข้าใจผิด?

เกี่ยวกับพลาสติกโรงเรือน

เสียเวลา 5 นาที ดีกว่า เสียเงินเป็นหมื่น
แล้วไม่ได้ของที่ต้องการ😡😡
🌱 การปลูกพืชแบบเน้นคุณค่ามากกว่าปริมาณเป็นที่นิยม และแพร่หลายในประเทศไทยมาระยะหนึ่งแล้ว การใช้โรงเรือน(Greenhouse) จึงขยายตัวตามไปด้วย
☀️ หลายครั้งผู้ที่สนใจมักได้รับข้อมูลแปลกๆที่ไม่เป็นความจริง ซึ่งทำให้เราเป็นกังวลมาก เพราะ ความเข้าใจผิดบางอย่าง เมื่อลงทุนไปแล้วแก้ไขได้ยาก เสียเงินซ้ำซ้อน บางอย่างส่งผลต่อพืชที่ปลูก ลงแรงไปก็มาก แต่กลับไม่ได้สิ่งที่ต้องการ
💡และเหมือนทุกๆครั้ง เพราะเราเชื่อว่า “ควรรู้ก่อนซื้อ ดีกว่าซื้อแล้วรู้ที่หลัง” เราจึงรวบรวมข้อมูลต่างๆแบบละเอียด เพื่อให้ผู้ซื้อ ผู้บริโภคได้ใช้งานแบบถูกต้อง ถูกลักษณะ ไม่เสียเงินซ้ำซ้อน

☀️ความเข้าใจผิดที่เราพบเจอบ่อยที่สุด คือ “พลาสติกกันแสง UV กี่ %”☀️

🌤เราคาดว่า น่าจะเกิดจากตัวเลข % ของสินค้า เช่น “พลาสติกโรงเรือน UV7%”  อาจทำให้ผู้อ่าน เข้าไปใจว่า พลาสติกโรงเรือนนี้ สามารถกรองแสง UV ได้ 7% ซึ่งไม่ถูกต้อง

🏡ในความเป็นจริงตัวเลข “UV7%” หมายถึง มีส่วนผสมของสารเพิ่มความทนทานต่อ UV (UV Resistant) ลงไปในเนื้อพลาสติก 7% มีผลให้พลาสติกทนทานสามารถใช้งานกลางแจ้งได้เป็นเวลานาน

☘️เช่น พลาสติกโรงเรือน UV3% กับพลาสติกโรงเรือน 7% พลาสติกโรงเรือนที่ผสมสารดังกล่าวมากกว่า ก็จะทนทานต่อแสงแดดได้ยาวนานกว่า (ถ้าพลาสติกนั้นผสมตามที่ระบุไว้จริงๆ)

“แล้วพลาสติกเราสามารถทำให้กรองแสง UV ได้จริงๆหรือไม่?”

😏คำตอบคือ “เราสามารถทำได้ครับ”

☝️โดยศัพท์ที่เราใช้กับพลาสติกที่กรองแสง UV ได้จริงๆจะเป็นคำประมาณนี้ครับ

  • 🌕 กันแสง UV (UV Block) หมายถึง พลาสติกสามารถปิดกั้นแสงในช่วงความถี่ 100-360 นาโนเมตรไม่ผ่านตัวพลาสติกได้
  • 🌖 สะท้อนแสง UV(UV Reflect) หมายถึง พลาสติกสามารถสะท้อนแสงในช่วงความถี่ 100-360 นาโนเมตรไม่ผ่านตัวพลาสติกได้
  • 🌗 ดูดซึมแสง UV (UV Absorber) หมายถึง พลาสติกมีสารที่ไวต่อแสง UV เมื่อมีแสงในช่วงคลื่น 100-300 นาโนเมตรเข้ามา ตัวสารเติมแต่งดังกล่าวจะดูดซึมไว้ แล้วสารดังกล่าวจะค่อยๆสลายไปตามการใช้งาน

ตัวพลาสติกอาจมีความสามารถกันแสงช่วงคลื่นที่แตกต่างกัน แล้วแต่สารเติมแต่งที่ผู้ผลิตใส่ลงไป

🌏 ในโลกนี้มีพลาสติกแบบนี้ขายจริงๆไหม “มีครับ” ในบ้านเราก็มีครับ จะเป็นพลาสติกจากญี่ปุ่น หรือยุโรปบางประเทศ แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เพราะ ถือเป็นพลาสติกเฉพาะทาง มีผลต่อพืชหลากหลายแบบตามพันธุ์พืชที่ปลูก เช่น พืชบางพันธุ์ถ้าไม่มีแสงในช่วงคลื่น UV เลย จะไม่ออกสี สีไม่สวยก็ขายไม่ได้ เป็นต้น

ถ้าท่านต้องการพลาสติกชนิดนี้จริงๆ ควรศึกษารายละเอียดของพืชที่ปลูก และต้องขอเอกสารรับรองการปิดกั้นว่า ปิดช่วงคลื่นไหนได้บ้างก่อนการซื้อทุกครั้ง

🍎 เมื่อทีมเทคนิคเราอธิบายตามรูปไปแล้ว จะมีคำถามต่อมาทันที่ คือ “ถ้ามันไม่ได้กันแสง UV ทำไมต้นไม้ในโรงเรือนจึงโตดี แต่ด้านนอกโรงเรือนกับตายละ?”

🥦 แน่นอนว่าเราย่อมมีคำอธิบาย เหตุเกิดจาก “Light Transmission Ratio” หรือ “สัดส่วนแสงที่ส่องผ่านวัสดุ” พลาสติกโรงเรือนทั่วไปจะมีค่านี้อยู่ที่ 75%-90% เช่น 90% จะหมายถึง แสงมา 100 ผ่านเข้าโรงเรือนไป 90 อีก 10 จะถูกฟิลม์กันไว้ 

🍇ส่งผลให้แสงในทุกช่วงคลื่นไม่ว่าจะเป็น UV PAR และ IR ที่เข้าโรงเรือนมาน้อยลงทั้งหมด จึงเป็นคำอธิบายว่า “ทำไมต้นไม้ฉันถึงโตดีในโรงเรือน เพราะ โรงเรือนกรองแสงออกไปบางส่วนแล้ว แสงที่เหลือเข้ามาพอเหมาะกับต้นไม้พอดี แต่ข้างนอกอาจได้รับแสงมากเกินไป จึงตาย”

🔆ค่าดังกล่าวจะมาก-น้อยขึ้นกับปัจจัยต่อไปนี้

  • 🔅 ฝุ่น พลาสติกโรงเรือนเมื่อผ่านการใช้งาน ผ่านฝนมาอาจมีฝุ่นเกาะ ทำให้แสงผ่านได้น้อยลง
  • 🔅 วัตถุดิบ ถ้าเป็นวัตถุดิบที่ดี ไม่มีการปนเปื้อน จะมีค่าแสงผ่านที่ดี ถ้าเป็นวัตถุดิบที่ไม่ได้คัดมา อาจมีความขุ่นทำให้แสงผ่านได้น้อยลง

🐚 ต้นเรื่องจริงๆ ต้องย้อนเวลากลับไปประมาณ 10-15 ปีที่แล้ว ที่เราเพิ่งเริ่มคุ้นชินกับการใช้พลาสติกโรงเรือน

☄️ มีบริษัทจำนวนมากเข้ามาทำตลาด และบางบริษัทก็พยายามลดต้นทุนด้วยวิธีการนำเม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่ไม่ได้คุณภาพเข้ามาผสม พลาสติกที่ไม่ได้คุณภาพเหล่านี้จะมีเอกลักษณ์บางอย่างที่แก้ไขไม่ได้ คือ “ความขุ่น” 

🔥 และจากการแข่งขันทำให้มีการพูดเพื่อโจมตีคู่แข่งกันไปมา รวมถึงความขุ่น ความใสของเนื้อพลาสติก ทำให้มีความเชื่อว่า “พลาสติกที่ขุ่น เป็นพลาสติกที่ไม่ดี พลาสติกที่ดีต้องใส เงา เท่านั้น”

🔥🔥ซึ่งนั้นเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียวเมื่อ 10 ปีที่แล้ว🔥🔥

😏 ปัจจุบันเรื่องกลับตาลปัตรไปไกลมาก จากที่เกษตรกรเรามีการไปดูงานการเพาะปลูกพืชในแทบทะเลทราย(อิสราเอล) ซึ่งเค้ามีการใช้พลาสติกขุ่นที่ดูภายนอกก็เป็นพลาสติกขุ่นๆธรรมดา แต่กลับแฝงด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ในชื่อ “พลาสติกกระจายแสง : Diffused Film”😃

👍 จากนั้นจึงเริ่มมีการนำ พลาสติกโรงเรือนรุ่นกระจายแสงเข้ามาใช้งานในประเทศไทย ซึ่งมีคุณสมบัติพร่าแสง (Diffused) ให้แสงที่เข้ามาในโรงเรือนมีการกระจายตัวสว่างทั่วทั้งโรงเรือน ปัจจุบันเราสามารถผลิตและส่งออกได้แล้ว

นอกจากพลาสติกโรงเรือนที่มีคุณสมัติ Diffused แล้ว ในประเทศไทยมีการใช้พลาสติกโรงเรือนที่มีคุณสมบัติพิเศษอื่นๆอีกหลากหลายแบบ เช่น 

🌸ในพื้นที่ๆมีปริมาณฝนมาก และเกิดหยดน้ำเกาะบริเวณหลังคา พลาสติกที่มีคุณสมบัติผิวมันลื่น (Anti-dripping film)จะเข้าไปช่วยให้น้ำไม่เกาะตัว ลดการเกิดเชื้อราได้ดี

🌻ในพื้นที่ๆมีปริมาณการจราจรค่อนข้างเยอะ ฝุ่นไปเกาะโรงเรือนมากๆจนแสงผ่านน้อย ก็สามารถใช้พลาสติกโรงเรือนที่มีคุณสมบัติกันฝุ่นเกาะ (Anti-dusting film)ได้ เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล

☃️ในพื้นที่ๆต้องการลดอุณหภูมิในโรงเรือนลง ก็สามารถใช้พลาสติกที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสงช่วงคลื่นอินฟาเรด (Cooling film) ลดช่วงคลื่นของแสงที่ไม่ต้องการเข้ามาในโรงเรือนได้

💪“หนาแล้วทนกว่าบางรึเปล่า?” “หนาเท่าไหร่ถึงจะดี?” เป็นคำถามเราเจอกันบ่อย แต่กลับเป็นคำถามที่ยากจะตอบ ส่วนหนึ่งเกิดจากความเข้าใจผิดของตัวคำถามเอง เช่น 

“พลาสติกหนา 200 ไมครอน ใช้ได้นานกว่า(หรือทนทาน) 100 ไมครอนใช่ไหม?🤔”

การตอบคำถามนี้ เราต้องแยกมาเป็นข้อๆก่อน

👆ความทนทานต่อแสงแดด ถ้าพลาสติกผสมสารเพิ่มความทนทานต่อ UV เท่ากัน ต่อให้ความหนาต่างกัน ความทนทานต่อแสงแดดย่อมไม่ต่างกันมากนัก 

คำถามที่ว่า “หนากว่า=ทนแดดได้นานกว่า” จึงไม่จริง🔴

✌️ความทนทานต่อแรงกระทำอื่นๆ เช่น แรงลม หนูแทะ ฝนตก ความร้อน ลูกเห็บ ความหนามีผลต่อแรงกระทำในส่วนนี้แน่นอน 

คำถามที่ว่า “หนากว่า=ทนพายุได้ดีกว่า” จึงเป็นจริง🟢

เวลาที่พิจารณาเรื่องความหนาจึงควรมองสภาพแวดล้อมที่ปลูก เช่น 

ปลูกในเมือง ลมไม่แรง มีตึกบัง จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้พลาสติกที่หนามากๆ แต่ถ้าเป็นกลางทุ่ง ลมแรง ไม่มีอะไรบังลมเลย สมควรใช้พลาสติกที่มีความหนาจึงจะเหมาะสม

💪ในเรื่องของความหนา คำถามถัดมาที่เราพบเจอ คือ 

“รอบที่แล้ว ผมซื้อพลาสติกหนา 150 ไมครอนมากจากเจ้าหนึ่ง….มันขาด รอบนี้ผมควรซื้อ 200 ไมครอนเลยไหมครับ?”🥺

คำตอบแบบจริงจัง แบบไม่อยากขายของเลย คือ “ผมก็ไม่รู้ครับ🤣” เนื่องจากผู้จำหน่ายพลาสติกบ้านเราให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านราคามาก โดยแทบไม่สนใจรายละเอียดด้านคุณสมบัติ และในความเป็นจริงเวลาที่ซื้อ-ขายกัน ตัวเราเองก็ไม่ค่อยสนใจ จึงเป็นเหตุให้คำถามนี้ตอบยากมากๆ

😥ผลลัพท์ของการไม่สนใจรายละเอียด คือ เราไม่รู้เลยว่าพลาสติกที่เราได้มานั้นมันดีหรือมันแย่ รู้แค่เราซื้อมาราคาไม่แพง(มั้ง🤨) เช่น

พลาสติกโรงเรือนเจ้า A ราคา 3,100 บาท รับแรงฉีกขาดได้ 300 Kgf/m.

พลาสติกโรงเรือนเจ้า B ราคา 3,000 บาท รับแรงฉีกขาดได้ 270 Kgf/m.

โดยพลาสติกโรงเรือนทั้ง 2 เจ้า มีความหนาเท่ากัน

ถ้าเราไม่มองปัจจัยอื่นๆเลย พลาสติกเจ้า B ย่อมดีกว่า แต่เมื่อมองปัจจัยอื่นๆ เราจะเริ่มมองว่า A ดีกว่า 

ลูกค้าซื้อพลาสติก B ที่ความหนา 100 ไมครอน มีพายุเข้า พลาสติกขาด แต่ถ้าลูกค้าซื้อพลาสติก A พายุลูกเดียวกัน อาจจะไม่ขาด เพราะสามารถรับแรงได้มากกว่า

คำตอบ ก็คือ เราควรขอเอกสารรับรองต่างๆมาเปรียบเทียบ เพื่อให้การซื้อของเราคุ้มค่าที่สุด

Categories
คำแนะนำสินค้า บทความ

อุโมงค์ แปลงผัก เพราะ ทุกที่ ปลูกได้

แปลงทดลองผลิตภัณฑ์ต่างๆของบริษัท ถูกท้าทายจากจอมตะกละเจ้าถิ่น ที่เดินน้ำลายไหลมาเป็นทาง

แต่สุดท้ายก็ ไม่ได้กินเราหรอก 🤣🤣

เพราะ เราปลูกในโครงอุโมงเตี้ย หรือ Low tunnels ซึ่งบางตำราก็ให้เป็นโรงเรือนขนาดเล็ก(mini greenhouses)

แปลงนี้ใช้อุปกรณ์ดังนี้
🌱 พลาสติกคลุมดิน กำจัดวัชพืช รุ่น EXTRA UV ปูพื้นกันหญ้าขึ้น ทำให้ไม่ต้องค่อยตัดหญ้า
🌾 กระบะปลูก ซามูไร รุ่น 1 เมตร ที่เป็นรุ่นเฉพาะสำหรับปลูกผักสลัด หรือพืชรากสั้นโดยเฉพาะ
🎋 ไม้ไผ่เทียม เหล็กขึ้นรูปแข็งแรงเคลือบพลาสติกกันสนิม ทั้งแบบแท่งตรงทำโครงกระบะ และแบบโค้ง สำหรับทำโครงมุ้งกันแมลง
🐾 มุ้งกันแมลงขนาด 16 ตา เพื่อให้ลมผ่านเข้าออกได้ดี ผักไม่ร้อนเกินไป
🧱 อิฐประสาน 14 ก้อน

ขั้นตอนการทำทั้งหมด ดูเรียงตามรูปได้เลย

อุโมงปลูกผักคืออะไร?

เป็นการปลูก โดยมีการควบคลุมสภาพแบบเล็กๆ โดยในต่างประเทศจะใช้เป็นพลาสติก เพื่อกันแมลง และให้เกิดความร้อนสะสม สร้างความอบอุ่นให้พืช

แต่ในไทยต้องใช้เป็นมุ้ง ที่สามารถกันแมลงได้ เพื่อให้สามารถระบายอากาศได้เนื่องจากอุณหภูมิเรามีความร้อนเพียงพอแล้ว
ทางเข้าอยู่ไหนเนี่ย ทำไมไม่ได้กินซะที
🌾 กระบะปลูก ซามูไร รุ่น 1 เมตร ที่เป็นรุ่นเฉพาะสำหรับปลูก
ผักสลัด หรือพืชรากสั้นโดยเฉพาะ
ขนาดรากของผักสลัดอยู่ที่ 15-20 เซน แล้วแต่พันธุ์ เราจึงออกแบบกระบะที่มีขนาด
พอดีกับพืช พร้อมทั้งเพิ่มหน้ากว้าง ให้ท่านปลูกได้มากขึ้นและปร
ะหยัดดินมากขึ้น
🎋 ไม้ไผ่เทียม แบบแท่งตรงทำโครงกระบะ และแบบโค้ง สำหรับทำโครงมุ้งกันแมลง
🌱 พลาสติกคลุมดิน กำจัดวัชพืช รุ่น EXTRA UV อายุการใช้งานกว่า 10 ปี ปูพื้นกันหญ้าขึ้น ทำให้ไม่ต้องดูแลมาก
หายห่วงเรื่องหญ้า ให้เรามีเวลาดูแลสวนมากขึ้น
🎋 ไม้ไผ่เทียม แบบแท่งตรงทำโครงกระบะ แข็งแรง ทนทาน เคลือบพลาสติกมาอย่างดี ทำให้ไว้กลางแจ้ง ไม่เป็นสนิม

ในการทำโครงกระบะสามารถใช้ว
ัสดุอื่นๆทดแทนได้ เช่น ไม้ไผ่จริง ท่อ PVC ท่อเหล็ก สามารถนำไปทำโต๊ะปลูกได้ ช่องสอดโครงได้ไม่เกิน 34 มิลลิเมตรนะครับ
🎋 ไม้ไผ่เทียมแบบโค้ง สำหรับทำโครงมุ้งกันแมลง ไม้ไผ่เทียมมีหลากหลายขนาด และรูปแบบ ทำให้สามารถประยุกต์ใช้ได้ไม่จบสิ้น

ในรูปจะเป็นโครงแท่งตรงที่ทำโครงกระบะ ส่วนด้านบนจะเป็นโครงโค้งสูง
170 เซนติเมตร (รหัส 45)
สำหรับอุโมงเตี้ย(ไม่เกิน 1 เมตร) ทางเราจะแนะนำเป็นมุ้งความถถี่ขนาด 16 ตา
เพื่อให้ลมผ่านเข้าออกได้ดี ผักไม่ร้อนเกินไป

ถ้าต้องการใช้มุ้งที่มีความถี่มากกว่านี้ อาจจะต้องทำโครงให้สูงขึ้น
หรือทำช่องระบายอากาศเผื่อไว้ เพื่อให้มีลมไหลเวียน ไม่งั้นผักอาจจะไม่โตได้

ในช่วงที่อากาศร้อนมาก อาจจะต้องนำฟางมาห่มดินไว้
เพื่อให้อุณหภูมิรากไม่สูงมากนัก
————————–
อุปกรณ์ชั้นเลิศจากเรา ผลงานชิ้นเอกของคุณ
————————–

แน่นอนในวันที่ท่านยังมีแรงอุปสรรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศัตรูพืช สภาพอากาศ ท่านสามารถผ่านไปได้ด้วยแรงกาย และความมุมานะ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ในวันที่ท่านค่อยๆโรยรา อุปสรรคเหล่านี้ไม่เคยโรยราไปพร้อมท่านแม้สักวินาทีเดียว

น่าจะดีกว่า ถ้ามีอุปกรณ์ชั้นเลิศ เสมือนเพื่อนที่ไม่ปล่อยเรา
ไว้ลำพัง แต่คอยช่วยเหลือ ทุ่นแรง ช่วยให้ท่านสร้างสรรค์ผลงาน
ชิ้นเอกแก่ลูกค้าของท่าน

ทางทีมงานจะพยามพัฒนาสินค้า
และบริการ รวมถึงนำเสนอบทต่อเรื่อยๆ ยังไงฝากกดแชร์เพื่อกำลังใจ
ให้ทีมงานด้วย

ขอบคุณครับ
Categories
บทความ

“สวนพริกลุงสนั่น” เรื่องไม่เล็กของ “หนู”

เรื่องราวจาก “พริก ลุงสนั่น” บนเนื้อที่สวนกว่า 80 ไร่ ที่นำพลาสติกคลุมวัชพืชของเราเข้าไปแก้ปัญหาหนู และวัชพืชได้เป็นอย่างดี

สวนคุณลุงตั้งอยู่บึงบอน ปทุมธานี มีพื้นที่ใหญ่ ถึงใหญ่มาก มีเนื้อที่ทั้งหมดกว่า 80 ไร่ ปลูกพืชผสมผสานหลากหลาย พริก มะระ กล้วย อื่นๆอีกหลายอย่าง

ลุงสนั่นเล่าให้ฟังว่า มีอาชีพเกษตกรมากว่า 30 ปี ลองปลูกมาแล้วทุกรูปแบบ ก่อนมาใช้พลาสติกคลุมหญ้า ลุงสนั่นปลูกโดยใช้พลาสติกดำเงิน(Mulching Film)ป้องกันวัชพืช ร่วมกับระบบน้ำหยด ซึ่งให้ผลผลิตดีมาก หลังๆมามีหนูระบาด กัดท่อน้ำหยดบ่อยมาก จนลุงกับคนดูแลสวนซ่อมกันไม่ทัน กลายเป็นขายได้เท่าไหร่ก็หมดไปกับค่าดูแลสวน

ลุงสนั่นจึงไปหาวิธีการอื่น ที่ตัดปัญหาเรื่องท่อส่งน้ำออกไป แต่ยังสามารถคลุมปริมาณวัชพืชได้เช่นเดิม

พลาสติกคลุมวัชพืช จึงเป็นทางออกหนึ่งที่ทางลุงนำไปทดลองใช้ ซึ่งน้ำสามารถผ่านตัวพลาสติกได้ จึงเปลี่ยนระบบให้น้ำเป็นเรือติดเครื่องปั้มน้ำขึ้นมาจากร่องสวน

จากการใช้งานไปประมาณ 1 เดือน ซึ่งปรากฏว่า ได้ผลเป็นที่พอใจ

  • สามารถหยุดการเติบโตของวัชพืชได้ดี เป็นที่หน้าพอใจ
  • ลดแรงงาน ที่คอยมาตัด ให้คนดูแลสวนได้ดูแลต้นไม้อย่างเต็มที่
  • ให้ผลผลิตดีดังเดิม เพิ่มเติมคือไม่มีท่อให้ซ่อมแล้ว
  • ไม่ต้องใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชใดๆอีกเลย
Categories
คำแนะนำสินค้า บทความ

เปลี่ยนตาข่ายพลาสติกเป็นอุปกรณ์ตกแต่งสวนสวย ด้วยตัวคุณเอง

สินค้าทั่วไปอย่างตาข่ายพลาสติกนั้น ปกติเรานำไปใช้กั้นบริเวณสำหรับสัตว์เลี้ยง หรือติดตั้งตามอาคารเพื่อป้องกันนก แต่วันนี้เรื่องราวของ “ตาข่ายพลาสติก” จะเปลี่ยนไปเป็นอุปกรณ์ตกแต่งสวนราคาประหยัด ที่ทำให้บ้านคุณสวยงามรมรื่น และไม่เหมือนใคร โดยผลงานการประยุกต์ใช้ตาข่ายพลาสติกของเรา ให้เป็นผนังไม้เลื้อยนั้น สามารถเข้าชมตัวอย่างจากสถานที่จริงที่ The Circle Ratchapruk ตลอดเวลาทำการ

ตาข่ายพลาสติก

ตาข่ายพลาสติก

ตาข่ายพลาสติก

ตาข่ายพลาสติก

ตาข่ายพลาสติก

ตาข่ายพลาสติก

ตาข่ายพลาสติก

Categories
คำแนะนำสินค้า บทความ รายละเอียดสินค้า

ผ้าพลาสติกสานตรามงกุฏ ต่างจากแบรนด์อื่นๆอย่างไร

ปลอดภัยด้วย ROHS ใบรับรองโลหะหนัก

ผ้าฟางตรามงกุฏผ่านการวิเคราะห์ปริมาณสารต้องห้าม (RoHS) ในปริมาณที่น้อยมากๆ ในชิ้นส่วน/วัสดุ จนถึงระดับวัสดุเนื้อเดียวกัน ตามที่ EU กำหนด  และทดสอบบนมาตรฐาน IEC 62321 ปี 2556

ความหนา 90 g/m2 สูงกว่าสินค้าทั่วไปกว่า 20%

เราให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้า เราจึงมองหาวิธีการลดต้นทุนอื่นๆที่ไม่ได้ลดคุณภาพ จึงทำให้ผ้าฟางตรามงกุฏของเรามีความหนาสูงกว่าสินค้าในตลาดทั่วไป

วัดความยาว จากการชั่งน้ำหนักได้ทุกม้วน

ด้วยการตรวจสอบสินค้าในทุกๆขั้นตอน ทำให้เรามั่นใจสินค้าทุกม้วน และผู้ที่ได้รับสินค้าไปจะสามารถตรวจสอบสินค้าของเราตามเกณฑ์มาตราฐานที่เรากำหนดได้ทุกเมื่อ

ผิวสัมผัสที่เรียบเนียน เกิดจากการเคลือบผิวที่สม่ำเสมอ

จากความหนาแน่นที่สูงกว่าตลาด สะท้อนถึงความหนาในการเคลือบผิว เวลาสัมผัสด้านที่เคลือบจึงรู้สึกได้ถึงความเรียบเนียนของผิว

หมายเหตุ : การติดสอบ RoSH มีสารต้องห้ามดังนี้ ตะกั่ว (Pb) ปรอท (Hg) เฮกซะวาเลนท์ (Cr-VI) โพลีโบรมิเนต ไบเฟนนิลส์ (PBB) โพลีโบรมิเนต ไดเฟนนิล อีเธอร์ (PBDE) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก และแคดเมียม (Cd) ไม่เกิน 0.01% โดยน้ำหนัก