Categories
รายละเอียดสินค้า

ปรับกลยุทธ์แก้ปัญหาผลไม้ราคาตก

ผลไม้เป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทย ปัจจุบันมีเกษตรกรประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ ประมาณ 1.923 ล้านครัวเรือน มีพื้นที่ปลูกกว่า 8.176 ล้านไร่ ได้ผลผลิตรวม 7.468 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 90,361 ล้านบาท โดยมีผลไม้เศรษฐกิจหลัก 6 ชนิด ได้แก่ ลำไย ทุเรียน มังคุด เงาะ มะม่วง และลองกอง ซึ่งแต่ละปีมีการส่งออกไม่น้อยกว่า 29,658 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม การผลิตผลไม้ไทยยังมีปัญหาผลผลิตออกสู่ตลาดกระจุกตัวพร้อมกัน ทำให้ไม่สามารถหาตลาดรองรับได้ทัน ส่งผลให้เกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำแทบทุกปี ทำให้ภาครัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการแทรกแซงราคาจำนวนมาก

นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวง เกษตรฯมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมประชุมหารือกับสมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย ตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ สหกรณ์ ผู้รวบรวมสินค้า ผู้แทนตลาดกลางขนาดใหญ่ทั้งในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้า และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อกำหนดแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตผลไม้ตกต่ำทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อพัฒนา การผลิตและตลาดผลไม้ให้เกิดความเข้มแข็ง ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นผู้นำการผลิตและตลาดผลไม้เมืองร้อนของโลกต่อไป

ทางด้าน นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวเพิ่มเติมว่า ปี 2556 นี้ คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้อนุมัติงบประมาณในภาพรวม จำนวนทั้งสิ้น 462,879,500 บาท เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาผลไม้หลายชนิด เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลิ้นจี่ และลำไย ซึ่งเป็นกลุ่มผลไม้เศรษฐกิจที่มักมีปัญหาราคาตกต่ำ โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้ร่วมกับจังหวัดแหล่งผลิตจัดทำแผนเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาของจังหวัด (คพจ.) เพื่อสนับสนุนกลไกตลาดให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น ด้วยการบริหารจัดการผลผลิตช่วงที่ออกสู่ตลาดมากภายใต้ 4 มาตรการหลัก  คือ 1. มาตรการพัฒนาคุณภาพผลผลิตซึ่งใช้เฉพาะการป้องปรามทุเรียนอ่อนเข้าสู่ตลาด 2. มาตรการเร่งรัดกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต ด้วยการสนับสนุนเงินจ่ายขาดแก่กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นค่าขนส่งและค่าการตลาดเหมาจ่ายจากแหล่งผลิตสู่ตลาดปลายทางอัตรา  2.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็นค่าขนส่ง 1.50 บาท และค่าการตลาดเหมาจ่าย 1.00 บาท 3. มาตรการส่งเสริมการแปรรูปโดยจะสนับสนุน เงินชดเชย อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี ให้แก่สถาบันเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน

เพื่อกู้ยืมเงินจากแหล่งทุนต่าง ๆ เช่น ธ.ก.ส. ธนาคารกรุงไทย และเอสเอ็มอี เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการแปรรูป และ 4. มาตรการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการบริโภค ด้วยการจัดงานรณรงค์การบริโภคผลไม้ร่วมกับจังหวัดปลายทาง พร้อมประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยในตลาดต่างประเทศด้วย

นอกจากนี้แล้ว ทางกระทรวงเกษตรฯ ยังมีนโยบายเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัยมากขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ ทั้งยังเน้นให้พัฒนากระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้ และส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผลไม้ให้มีความหลากหลาย เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทางการค้าด้วย

คาดว่าจะช่วยลดภาระภาครัฐในการแทรกแซงราคาและสามารถช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศได้ค่อนข้างมาก.

ที่มา : เดลินิวส์

Categories
รายละเอียดสินค้า

แหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้วิชาของแผ่นดิน

แหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้วิชาของแผ่นดิน

นางจารุรัฐ จงพุฒิศิริ ผู้อำนวย    การสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า ในโอกาสย่างก้าวปีที่ 15 ของพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พิพิธภัณฑ์ฯ ได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาในหลาย ๆ ด้าน เน้นการเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดองค์ความรู้วิชาของแผ่นดินให้แก่ประชาชนมากขึ้น เพื่อจะได้นำวิชาชีพเหล่านั้นไปประกอบอาชีพและสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

“ในหลวงของเราทรงทำนา เกี่ยวข้าวและมีที่นาของพระองค์เองในสวนจิตรลดา พระองค์เป็นถึงพระมหากษัตริย์แต่ยังคงให้ความสำคัญในการทำนา การทำเกษตรนับเป็นแบบอย่างที่ดีกับคนไทยและเกษตรกรไทย” นางจารุรัฐ กล่าวผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ เปิดเผยด้วย       ว่า จากแนวทางดังกล่าวทุก ๆ เสาร์และอาทิตย์สัปดาห์แรกของเดือนทางพิพิธ ภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จึงจัด “ตลาดนัดองค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง” ขึ้น ซึ่งตลาดนัดดังกล่าวจะมีความแตกต่างจากตลาดนัดอื่น ๆ คือ เป็นตลาดนัดองค์ความรู้และการเรียนรู้ด้านเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ที่สามารถมาเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รู้จริง ทำจริง ได้ผลจริงทุก ๆ เดือนจะมีเครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเกษตร ที่เป็นเครือข่ายทางวิชาการมาถ่ายทอดองค์ความรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพึ่งตนเอง มีการจัดอบรมวิชาของแผ่นดิน 8 หลักสูตรและฐานเรียนรู้ด้านการเกษตร 4 ภูมิภาค ซึ่งบุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นเกษตรกรที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติใช้ในพื้นที่ของตนเองและได้ผลจริงแล้วนำมาถ่ายทอด
นอกจากนี้ก็ยังมีเครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเกษตรทั่วประเทศทั้ง 4 ภูมิภาค กว่า 80 ร้านค้า มาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในหลักสูตรต่าง ๆ ซึ่งแต่ละหลักสูตรจะอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจได้โดยง่าย อาทิ การทำผงนัวเป็นผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ผลิตจากผักพื้นบ้าน ที่ใช้แทนผงชูรสที่รู้จักกันทั่ว ๆ ไปได้ จะมีการสาธิตโดยเครือข่ายอินแปง จ.สกลนคร การทำบัวลอยสีจากสมุนไพรและผักพื้นบ้าน โดยกลุ่มเกษตรอินทรีย์อำเภอสนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา

พร้อมกันนี้ก็ยังมีเครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเกษตรมาแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตร ผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพที่เน้นวิถีการผลิตแบบพึ่งตนเอง มาจำหน่ายในราคายุติธรรมอีกด้วย และนอกจากตลาดนัดองค์ความรู้แล้วก็ยังมี “ฐานการเรียนรู้” ที่มุ่งเน้นการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาจัดแสดงอีกด้วย อาทิ ฐาน 1 ไร่พอเพียง ซึ่งจะสาธิตวิถีเกษตรแบบพึ่งตนเอง เช่น การทำนา ปลูกผัก สมุนไพร ไม้ผล เพาะเห็ด เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ หมูหลุม การทำปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ การทำบ้านดิน การใช้โซลาร์เซลล์ต้นทุนต่ำเพื่อผลิตไฟฟ้าในบ้านเรือนและการเกษตร การทำเตาแก๊สชีวภาพ เป็นต้น

หรือฐานเกษตรพอเพียงเมือง จะนำเสนอต้นแบบเกษตรสำหรับคนเมืองที่มีพื้นที่น้อย เพื่อการพึ่งตนเองในการผลิตอาหารปลอดสารพิษ ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มพื้นที่สีเขียวและช่วยลดโลกร้อน เช่น การปลูกผักในบ่อซีเมนต์ การปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์ การปลูกพืชบนดาดฟ้า การนำขยะในครัวเรือนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ฐานมหัศจรรย์เกษตรไทย เป็นการนำเสนอความรู้แปลกใหม่ทางการเกษตรที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ เช่น การปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์วงใหญ่ มะละกอตอนกิ่ง ปลูกผักในน้ำ และฐานนวัตกรรมที่อยู่อาศัย ที่เป็นการนำเสนอบนฐานความคิดของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ มาสร้างเป็นที่อยู่อาศัย ง่ายและประหยัด ตลอดถึงฐาน 9 ไร่ 9 แสน ที่เน้นการประยุกต์ใช้เกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นำมาพัฒนาในพื้นที่แปลงขนาดเล็ก ด้วยการทำเกษตรแบบผสมผสานและเทคโนโลยีสรรพสิ่งอะตอมมิคนาโน

ส่วนตลาดนัดประจำเดือนกรกฎาคมนี้ จะเป็น“ตลาดนัดเศรษฐกิจพอเพียง” ที่เน้นองค์ความรู้เกี่ยวกับ “มหัศจรรย์ผักพื้นบ้าน” สามารถเข้าเยี่ยมชมและฝึกอบรมวิชาชีพด้านต่าง ๆ ที่  เปิดการอบรมฟรี ในระหว่างวันที่ 7-8 กรกฎาคม 2555 นี้ตั้งแต่เวลา 10.00-19.00 น. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.wisdomking.or.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0-2529-2212-13 ในวันและเวลาราชการ.

ที่มา : ข่าวเกษตรเดลินิวส์
Categories
รายละเอียดสินค้า

ตั้งศูนย์ตรวจสินค้าเกษตร…เตรียมเข้าเขตเศรษฐกิจอาเซียน

ตั้งศูนย์ตรวจสินค้าเกษตร...เตรียมเข้าเขตเศรษฐกิจอาเซียน

นับวันมาตรฐานสินค้า เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค เพราะการดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบันต้องใช้ชีวิตที่มีมาตรฐานรองรับความปลอดภัยเสมอ ดังนั้น มาตรฐานสินค้า จึงเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจที่จะเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรฐานด้านความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหาร เนื่องจากกระบวนการผลิตมีการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างไม่ถูกต้อง เกินความจำเป็นทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ และจากการที่รัฐบาลได้ประกาศให้ปี 2547 เป็นปีแห่งความปลอดภัยทางอาหาร (Food Safety Year)  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รณรงค์และส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัยจะได้แข่งขันในตลาดโลกได้

ตั้งศูนย์ตรวจสินค้าเกษตร...เตรียมเข้าเขตเศรษฐกิจอาเซียน

ดร.วีระชัย นาควิบูลย์วงศ์ เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กล่าวว่า เมื่อปลายปี 2553 ส.ป.ก.ได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้จัดตั้งศูนย์ตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อรองรับความต้องการของเกษตรกรที่ต้องการนำสินค้าเกษตรของตนเองมาตรวจสอบเพื่อรับรองมาตรฐาน  โดยเน้นพืชเศรษฐกิจ 4 ชนิด คือ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และสับปะรด เนื่องจาก ส.ป.ก. มีพื้นที่รองรับโครงการประมาณ 34 ล้านไร่  เกษตรกร 1.5 ล้านครัวเรือน ส่วนใหญ่ผลิตพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้เข้าประเทศปีหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมาก

ตั้งศูนย์ตรวจสินค้าเกษตร...เตรียมเข้าเขตเศรษฐกิจอาเซียน

สำหรับศูนย์ตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินนี้ กำลังจะได้รับการยอมรับในเรื่องของหน่วยรับรอง (Certification Body :CB) จากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ  ส.ป.ก.ได้เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลของเกษตรกรและการปฏิบัติงานในพื้นที่  ทั้งพัฒนาบุคลากรเพื่อที่จะเป็นผู้ตรวจประเมินแปลงที่ดิน และเตรียมพร้อมเกษตรกรในพื้นที่ให้มีความรอบรู้พร้อมที่จะปรับระบบการผลิตของตนเองเพื่อเข้าสู่กระบวนการรับรองสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐาน และก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) ในปี 2558 นี้

เลขาธิการ ส.ป.ก. กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากที่ศูนย์ตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ศึกษาและอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร เพื่อสร้างแรงจูงใจแก่เกษตรกรให้เห็นถึงความสำคัญของระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน  โดยศูนย์แห่งนี้ได้รับการตอบรับจากเกษตรกรดีมาก โดยเฉพาะผู้นำชุมชนและกลุ่มเกษตรกรในระดับพื้นที่  ซึ่งถือเป็นสื่อกลางสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปยังเกษตรกรรายอื่น ๆ ได้อย่างดี ที่ผ่านมามีผู้นำที่ผ่านการอบรมประมาณ 550 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้นำที่เป็นอาสาปฏิรูปที่ดิน  ผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และผู้แทนเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน นอกจากนี้ ยังมีเกษตรกรที่ผ่านการอบรมแล้วประมาณ  2,534 ราย ซึ่งมีจำนวนเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ (เป้าหมาย 1,500 ราย) ในพื้นที่ 50 จังหวัดทั่วประเทศ ปัจจุบันศูนย์ตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรฯ สามารถออกใบรับรองให้เกษตรกรได้แล้ว และในปีนี้ มีเกษตรกรยื่นคำขอรับการตรวจรับรองจำนวน 400 รายแล้ว

อย่างไรก็ตามหากเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินรายใดที่ปลูกพืชเศรษฐกิจทั้ง 4 ชนิดดังกล่าว ต้องการตรวจสอบรับรองมาตรฐานสินค้าก็สามารถติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมไปที่…สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดใกล้บ้านท่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆทั้งสิ้น.

ที่มา : ข่าวเกษตรเดลินิวส์
Categories
รายละเอียดสินค้า

ขยายเวลารับจำนำข้าว

นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิต ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาการแก้ไขปัญหาเกษตรกรในช่วงเปลี่ยนผ่านโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 โดยเห็นชอบในหลักการปรับเลื่อนระยะเวลาการรับจำนำข้าวเปลือกให้เร็วขึ้น จากเดิมระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2556 เป็นวันที่ 1 สิงหาคม 2555 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 จำนวน 2 ครั้งต่อปี

ทั้งนี้เพื่อรองรับผลผลิตของเกษตรกรได้ทันหลังการเก็บเกี่ยว เนื่องจากมีเกษตรกรจำนวนมากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ถึงต้นเดือนสิงหาคม นอกจากนี้ยังได้เห็นชอบในหลักการให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนการปลูกข้าว ปี 2555/56 ซึ่งจะมีการเก็บเกี่ยวข้าวก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2555 เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2555 ได้ โดยถือเป็นการเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี 2555/56 ไปแล้ว 1 ครั้ง จึงยังคงเหลือที่จะเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2555/56 ได้เพียงอีก 1 ครั้ง

สำหรับกรอบระยะเวลาและเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2555/56 ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรเปิดรับการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2555/56 ทั้งปีพร้อมกันทุกภาคทั่วประเทศ โดยให้เกษตรกรขึ้นทะเบียนและได้รับใบรับรองไม่เกิน 2 ครั้ง ต่อแปลง ต่อราย ต่อปี โดยให้กรมส่งเสริมการเกษตรไปกำหนดระยะเวลาการขึ้นทะเบียน ระยะเวลาการประชาคม และการออกใบรับรองหลังจากที่เกษตรกรขึ้นทะเบียนให้เหมาะสม ทั้งนี้ มติที่ประชุมดังกล่าวจะนำเสนอให้คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติพิจารณาต่อไป.

ที่มา : ข่าวเกษตรเดลินิวส์
Categories
รายละเอียดสินค้า

วันหยุดช่วงเทศกาลตรุษจีน

บริษัท คงสวัสดิ์ อินเตอร์เทรด จำกัด  ประกาศแจ้งประชาสัมพันธ์วันหยุดช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยจะเริ่มหยุดในวันที่ 23 มกราคม 2555 และจะเปิดทำการอีกครั้งในวันที่ 26 มกราคม 2555

.

万事如意 新年发财

.

ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวกใช้

.

ปีใหม่ขอให้ทุกอย่างสมหวัง ปีใหม่ขอให้ร่ำรวย

 

 

Categories
รายละเอียดสินค้า

เปิดทำการปกติ

หลังจากเหตุการ์ณน้ำท่วมที่ผ่านมาได้ลดความรุนแรงไปบ้างแล้ว ทางบริษัทจึงตัดสินใจเปิดให้บริการตามปกติแล้ว แต่สำหรับลูกค้าๆหลายท่านที่อยู่ต่างจังหวัดนั้น เนื่องจากบริเวณศูนย์ขนส่งที่จะจัดส่งไปยังร้านของท่านนั้นบ้างส่วนยังมีน้ำท่วมขังรถของเราไม่สามารถผ่านได้ เป็นเหตุให้สินค้าไปถึงล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น ทางบริษัทจึงต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

Categories
รายละเอียดสินค้า

ประกาศวันหยุด วันแม่แห่งชาติ 2554

บริษัท คงสวัสดิ์ อินเตอร์เทรด จำกัด  ประกาศแจ้งประชาสัมพันธ์วันหยุด เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ตังแต่ 12-14 สิงหาคม 2554 เป็นวันหยุดทำการของบริษัทฯ ทั้งนี้เปิดทำการ วันจันทร์ วันที่ 15 สิงหาคม 2554 จึงแจ้งมาเพื่อให้ลูกค้าผู้ใช้บริการทุกท่านทราบ