magbo system
Categories
คำแนะนำสินค้า ประกาศ

ร้อนนี้อย่าพลาด

ในแต่ละฤดูกาลนั้นจะมีความต้องการสินค้าแต่ละประเภทแตกต่างกันไป โพสนี้จะเป็นการบอกเหตุและผลที่คุณควรจะซื้อสินค้าเหล่านี้ไปกอดไว้ก่อนที่ฤดูร้อนจะมาถึงครับ

  • แสลนกรองแสง : เป็นสินค้าตัวหนึ่งที่ท่านควรรีบนำไปกอดไว้ก่อน หน้าร้อนใครๆก็ร้อน ใครๆก็อยากได้ไปกันร้อนกันทั้งนั้น รวมถึงพืชตามต่างๆด้วย สัดส่วนที่คนเลือกมากที่สุดก็จะเป็น 80% และ 70% รองลงมา ในทุกๆปีที่ผ่านมานั้น เรา(และอีกหลายๆบริษัท)ไม่เคยมีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการ  เมื่อเข้าฤดูจริงๆหากท่านไม่มีของรอไว้ คงไม่มีใครหาของให้ท่านได้มากนัก
  • ร่ม และตราชั่งแม่ค้า : ฤดูนี้เป็นฤดูที่ผลไม้ออกเยอะที่สุดในรอบปี และก็ร้อนที่สุดในรอบปีเข่นกัน ร่มและตราชั่งจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นในฤดูกาลเช่นนี้ สำหรับการตั้งร้าน ณ ตลาดต่างๆ
  • ผ้าท่อส่งน้ำพลาสติก และสายยาง : เป็นอีกรายการสินค้าที่ขาดไม่ได้ในฤดูกาลที่แล้งที่สุดของประเทศไทย สำหรับการส่งน้ำเข้าพื้นที่เกษตร
Categories
บทความ รายละเอียดสินค้า

เห็ดฟางในโรงเรือน วิสันต์ฟาร์ม


วีดีโอสาธิตการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน โดยวิสันต์ฟาร์ม

Categories
รายละเอียดสินค้า

ภูมิปัญญาท้องถิ่น(การถักแห)

http://www.youtube.com/watch?v=CWIjzrlkWV0

Categories
คำแนะนำสินค้า

แสลนขึงดีๆ มีตัวรองรับ และยึดดีๆไม่กระพือ อยู่ได้หลายปีเหมือนกัน ถ้าอยากถาวร การทำบ้านหลังคาสองชั้น ให้มีลมระบายใต้ล่างได้ หรือ บ้านที่หลังคา มีฝ้า หรือ ฉนวนกันใต้หลังคา แล้ว มีลมระบายผ่านใต้หลังคาได้ ก็ช่วยให้คลายร้อนในบ้านได้เช่นกัน เพราะว่า ความร้อนถูกกันไว้ด้านบน และลมพัดระบายออกไป ส่วน แสลน ผม เคยใช้ขึงทำศาลานั่งพักเล่น แต่ว่า ปลูกต้นการเวก กับ พวงแสด คลุมต่อ ตอนนี้ต้นไม้คลุมทึบหมดแล้ว แต่ แสลน ยังอยู่เลย อากาศใต้ล่างเย็นสดชื่นกว่า ด้านนอกตากแดดมาก (ดูสิ หมายังหนีไปหลบแดดเลย อิๆ

X12034911-20

จากคุณ : -=Jfk=-
เขียนเมื่อ : 2 พ.ค. 55 10:49:16

ที่มา : pantip

Categories
บทความ

การเพาะเห็ดฟางทะลายปาล์ม

เดิมทีนั้นเห็ดฟางสามารถขึ้นได้เอง ตามหัวไร่ชายนา จากเศษหญ้า กองฟางทั่วไปและได้มีการพัฒนาการเพาะเห็ดฟางเพื่อการค้ากันอย่างแพร่หลาย ซึ่งวัสดุที่นำมาเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะเห็ดฟางได้แก่ฟางข้าว ซึ่งเป็นวัสดุหลงเหลือจากการทำนา จึงเป็นที่มาของ ชื่อ “ เห็ดฟาง ” ซึ่งเรียกตามลักษณะของเห็ดที่ขึ้นตามกองฟาง

ปัจจุบันการเพาะเห็ดฟางได้พัฒนาไปอีกรูปแบบหนึ่ง คือแทนที่จะใช้วัสดุฟางข้าวเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะ เกษตรกรได้หันมาใช้ทะลายปาล์มเป็นวัสดุในการเพาะ ส่วนเชื้อเห็ดที่นำมาเพาะยังคงใช้เชื้อเห็ดฟางเช่นเดิม ดังนั้นการเรียกชื่อเห็ดที่ได้จากการเพาะจากทะลายปาล์ม

น่าจะเรียกว่า “ เห็ดทะลายปาล์ม ” ถ้าหากชื่อยาวเกินไปไม่สะดวกต่อการเรียกขาน อาจเรียกว่า “ เห็ดปาล์ม ” ก็ดูจะเข้าทีไม่น้อย

สำหรับทะลายปาล์มซึ่งนำมาเพาะเห็ดนั้นเป็นวัสดุเหลือใช้จากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มซึ่งมีอยู่มากมายเมื่อก่อนเคยเป็นปัญหากับทางโรงงานที่จะต้องเป็นภาระในการขนย้ายไปทิ้ง แต่หลังจากมีการนำทะลายปาล์มมาเพาะเห็ด ทำให้โรงงานมีรายได้กับการขายทะลายปาล์มอีกทางหนึ่งและทะลายปาล์มหลังจากใช้ในการเพาะเห็ดแล้วยังสามารถนำไปใช้คลุมโคนต้นไม้และทำปุ๋ยได้ อีกนับเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า (ทะลายปาล์ม 1 คันรถ 6 ล้อ ราคา 1,200 บาท)

ประวัติการเพาะเห็ดฟางทะลายปาล์มของอำเภอไชยา

การเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มน้ำมัน อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อปี 2536 มีการส่งเสริมการเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม ในเขตพื้นที่ชลประทาน หมู่ที่ 2,5 ตำบลป่าเว ซึ่งมีเกษตรกรได้รวมกลุ่มการเพาะเห็ดฟาง จำนวน 27 ราย โดยทางสำนักงานเกษตรอำเภอไชยา ได้จัดให้มีกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรตามแผนพัฒนาชนบท ด้วยสาเหตุนี้ ในช่วงปลายปี 2538 ได้มีการขยายผลวิธีการวิธีการเพาะเห็ดฟางไปสู่ท้องถิ่นอื่น ได้แก่ ตำบลทุ่ง ตำบลพุมเรียง ตำบลตะกรบ สำหรับการเพาะเห็ดฟางในอำเภอไชยา ขณะนี้ได้มีการรวมกลุ่มการเพาะเห็ดฟางในบางหมู่บ้าน และจัดทำเป็นรายครัวเรือน รวมสมาชิกทั้งหมด 131 ครัวเรือน จะมีพ่อค้าเข้ามาบริการจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์และรับซื้อผลผลิตเห็ดในท้องถิ่น จำนวน 3 – 5 รายนำไปขายในจังหวัดต่าง ๆ เช่น ภูเก็ต กระบี่ พังงา กรุงเทพฯ ทำให้เกษตรกรไม่มีปัญหาเรื่องการจำหน่าย และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน ประมาณเดือนละ 3,000-5,000 บาท ผลผลิตรวมในพื้นที่ออกจำหน่ายไม่ต่ำกว่าวันละ 300 ก.ก. ขณะนี้ราคารับซื้อจากพ่อค้าราคา ก.ก. ละ 30-33 บาท

ข้อมูลการเพาะเห็ดฟางทะลายปาล์ม

  1. พื้นที่เพาะเห็ดฟางทะลายปาล์ม ปัจจุบันมีเกษตรกรเพาะเห็ดฟางทะลายปาล์มในท้องที่ หมู่ที่ 1,3,4,5 ตำบลตะกรบ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำการเพาะเห็ดตลอดทั้งปี และมีเกษตรกร บางส่วนของตำบลทุ่ง จะทำการเพาะเห็ดเฉพาะช่วงฤดูกาล คือ หลังจากเก็บเกี่ยวข้าว (เดือนธันวาคม) ระยะเพาะประมาณ 5 เดือน
  2. จำนวนเกษตรกรผู้เพาะเห็ดฟางทะลายปาล์ม
    1. เพาะเห็ดตลอดปีประมาณ 131 ราย
    2. เพาะเห็ดช่วงฤดูกาลหลังเก็บเกี่ยวประมาณ 35 ราย
  3. รายได้จากการเพาะเห็ดฟางทะลายปาล์ม เกษตรกรมีรายได้จากการเพาะเห็ด เฉลี่ยรายละ 3,000 – 5,000 บาท ต่อเดือน
  4. กำลังการผลิต
    1. เกษตรกรเพาะเห็ดได้เฉลี่ย 3 ก.ก. ต่อวัน คิดเป็นรายได้ 120 บาทต่อวัน (ราคาเห็ด ก.ก. ละ 30-33 บาท)
    2. กำลังการผลิตรวมของอำเภอ เฉลี่ยวันละ 300 ก.ก. ต่อวัน คิดเป็นมูลค่าวันละ 9,000-9,900 บาท ต่อวัน หรือ 270,000 – 326,700 บาท ต่อเดือน (3,240,000 – 3,920,400 บาทต่อปี)

ผลที่เกิดขึ้นจากการส่งเสริมการเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม

  • เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว เดือนละ 3,000 – 5,000 บาท
  • ผลผลิตรวมในพื้นที่ออกจำหน่ายไม่ต่ำกว่าวันละ 300 ก.ก. ๆ ละ 40 บาท
  • เป็นการทำกิจกรรมอาชีพแบบครบวงจร โดยมีพ่อค้านำทะลายปาล์มและวัสดุอื่นมาจำหน่าย และรับซื้อเห็ดฟางถึงในไร่นา เกษตรกรไม่ต้องเสียเวลาในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์และเสี่ยงกับภาวะด้านการตลาด และราคาผลผลิต
  • เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นกลุ่มอาชีพที่มั่นคงในโอกาสต่อไป
  • มีการใช้เวลาว่างจากการประกอบกิจกรรมอื่นให้เกิดประโยชน์ เป็นการกระจายแรงงานที่เหมาะสม
  • มีอาหารประเภทผัก ไว้บริโภคในครัวเรือน เป็นการเพิ่มอาหารโปรตีน และลดค่าใช้จ่าย
  • เศษทะลายปาล์ม นำไปใช้ในการปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชอื่น เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืนถาวรต่อไป

วัสดุอุปกรณ์

  • เชื้อเห็ดฟาง
  • อาหารเสริม
  • แป้งข้าวเหนียว
  • ทลายปาล์มน้ำมัน
  • ไม้ไผ่ทำโครง
  • พลาสติกดำชนิดบาง

ขั้นตอนและวิธีการเพาะ

  • การเตรียมพื้นที่
    1. เลือกพื้นที่ให้เหมาะสม
    2. ปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ กำจัดสิ่งปฏิกูลออก
  • การสร้างโรงเรือน
    1. ใช้สแลนหรือทางมะพร้าวป้องกันแดดประมาณ 70 %
    2. ใช้สแลน ทางมะพร้าว หรือ สิ่งเหลือใช้อื่น ๆ เช่น กระสอบปุ๋ย กั้นด้านข้างเพื่อป้องกันลมพัดโดนผ้าพลาสติกคลุม
    3. ความสูงประมาณ 180 ซ.ม. กว้าง,ยาวพอสมควร
  • การเตรียมทลายปาล์มก่อนนำไปเพาะ
    1. กองทลายปาล์มสูงประมาณ 70 ซ.ม.
    2. เหยียบย่ำให้เรียบ
    3. รดน้ำให้ทั่ว 3 วัน ต่อครั้ง นานครั้งละ 2 ชั่วโมง(ใช้ท่อขนาด 1 นิ้ว ฉีด)
    4. คลุมด้วยพลาสติกให้มิดชิด นาน 12 วัน

  • การเตรียมแปลงเพาะ
    1. เตรียมแปลงกว้าง 70 ซม.
    2. ยาวครึ่งหนึ่งของผ้าพลาสติกคลุม
    3. เหยียบร่องให้เรียบ รดน้ำให้ชุ่ม

  • การเลือกซื้อเชื้อเห็ดที่มีคุณภาพ
    1. ก้อนเชื้อเห็ดแน่นแข็ง
    2. มีเส้นใยสีขาวนวล
    3. กลิ่นหอมรสดอกเห็ดฟาง
    4. ไม่มีเชื้อราชนิดอื่นปะปน
    5. ไม่มีหนอนและแมลง
  • การผสมเชื้อเห็ด

    1. ขยำเชื้อเห็ดให้ร่วน
    2. คลุกเคล้าเชื้อเห็ด อาหารเสริมและแป้งข้าวเหนียวให้ทั่ว (เข้ากันดี) อัตราส่วน สำหรับขนาดแปลงเพาะ กว้าง 70 ซม. ยาว 22 เมตร
    • เชื้อเห็ดฟาง 75 ถุง
    • อาหารเสริม 1 ถุง (1.5 ก.ก.)
    • แป้งข้าวเหนียว 1 ถุง (1 ก.ก.)
  • การโรยเชื้อเห็ดและคลุมร่อง

    1. โรยเชื้อเห็ดที่ผสมแล้วลงบนร่องให้ทั่ว
    2. รดน้ำให้ชุ่ม (ใช้บัว)
    3. ใส่โครงไม้ไผ่คลุมด้วยพลาสติกดำ ชนิดบาง

  •  การดูแลรักษา
    1. ตรวจดูความชื้นในแปลงอย่างสม่ำเสมอ
    2. ความชื้นที่เหมาะสม 35-37 องศาเซนเซียส
    3. สังเกตหยดน้ำใต้พลาสติกคลุม หากไม่มีหยดน้ำจับพลาสติกหรือมีน้อย ให้รดน้ำลงบนพื้นดินระหว่างแปลงเพาะ
    4. หลังวันเพาะ 5 วัน ให้เปิดช่องระบายอากาศ ขนาด 1 ฝ่ามือทั้งหัวและท้ายร่อง
    5. สังเกตดูเชื้อรา หากมีเชื้อราปะปนให้รีบกำจัดทันที
    6. หลังวันเพาะ 9 – 10 วัน เห็ดจะเริ่มงอก
  • การเก็บเกี่ยว
    1. เก็บเมื่อได้ขนาด ดอกโตเต็มที่แต่ไม่บาน
    2. พยายามให้กระทบกระเทือนน้อยที่สุด
    3. ใช้มีดจับดอกเห็ดหมุนไปทางใดทางหนึ่งพร้อมดึงขึ้น
    4. ดอกที่งอกบนดินควรใช้มีดตัดดอกเห็ดขึ้นมา อย่าดึงด้วยมือ
    5. เวลาเก็บ ขึ้นกับความต้องการของตลาด
    6. เก็บวันละ 1 ครั้ง ทุกวัน นานประมาณ 15 วัน ต่อรอบ
  • การตัดแต่งดอกเห็ด
    1. ใช้มีดที่บางและคม
    2. ตัดตีนให้สะอาดเรียบร้อย
    3. ตัดแต่งดอกที่เป็นผิวคางคกให้เรียบร้อยไม่เสียราคา

การจำหน่าย

มีจุดรับซื้อ ในตำบล 3 จุด พร้อมบริการวัสดุอุปกรณ์

หมายเหตุ

•  ห้ามทำซ้ำที่

• พลาสติกคลุมต้องทำความสะอาดโดยการซักน้ำทุกครั้งก่อนนำไปใช้ครั้งต่อ ๆ ไป

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอไชยา 0-7743-1033

ที่มา : http://chaiya.suratthani.doae.go.th/20.html

Categories
รายละเอียดสินค้า

ปรับกลยุทธ์แก้ปัญหาผลไม้ราคาตก

ผลไม้เป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทย ปัจจุบันมีเกษตรกรประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ ประมาณ 1.923 ล้านครัวเรือน มีพื้นที่ปลูกกว่า 8.176 ล้านไร่ ได้ผลผลิตรวม 7.468 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 90,361 ล้านบาท โดยมีผลไม้เศรษฐกิจหลัก 6 ชนิด ได้แก่ ลำไย ทุเรียน มังคุด เงาะ มะม่วง และลองกอง ซึ่งแต่ละปีมีการส่งออกไม่น้อยกว่า 29,658 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม การผลิตผลไม้ไทยยังมีปัญหาผลผลิตออกสู่ตลาดกระจุกตัวพร้อมกัน ทำให้ไม่สามารถหาตลาดรองรับได้ทัน ส่งผลให้เกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำแทบทุกปี ทำให้ภาครัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการแทรกแซงราคาจำนวนมาก

นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวง เกษตรฯมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมประชุมหารือกับสมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย ตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ สหกรณ์ ผู้รวบรวมสินค้า ผู้แทนตลาดกลางขนาดใหญ่ทั้งในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้า และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อกำหนดแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตผลไม้ตกต่ำทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อพัฒนา การผลิตและตลาดผลไม้ให้เกิดความเข้มแข็ง ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นผู้นำการผลิตและตลาดผลไม้เมืองร้อนของโลกต่อไป

ทางด้าน นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวเพิ่มเติมว่า ปี 2556 นี้ คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้อนุมัติงบประมาณในภาพรวม จำนวนทั้งสิ้น 462,879,500 บาท เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาผลไม้หลายชนิด เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลิ้นจี่ และลำไย ซึ่งเป็นกลุ่มผลไม้เศรษฐกิจที่มักมีปัญหาราคาตกต่ำ โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้ร่วมกับจังหวัดแหล่งผลิตจัดทำแผนเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาของจังหวัด (คพจ.) เพื่อสนับสนุนกลไกตลาดให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น ด้วยการบริหารจัดการผลผลิตช่วงที่ออกสู่ตลาดมากภายใต้ 4 มาตรการหลัก  คือ 1. มาตรการพัฒนาคุณภาพผลผลิตซึ่งใช้เฉพาะการป้องปรามทุเรียนอ่อนเข้าสู่ตลาด 2. มาตรการเร่งรัดกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต ด้วยการสนับสนุนเงินจ่ายขาดแก่กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นค่าขนส่งและค่าการตลาดเหมาจ่ายจากแหล่งผลิตสู่ตลาดปลายทางอัตรา  2.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็นค่าขนส่ง 1.50 บาท และค่าการตลาดเหมาจ่าย 1.00 บาท 3. มาตรการส่งเสริมการแปรรูปโดยจะสนับสนุน เงินชดเชย อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี ให้แก่สถาบันเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน

เพื่อกู้ยืมเงินจากแหล่งทุนต่าง ๆ เช่น ธ.ก.ส. ธนาคารกรุงไทย และเอสเอ็มอี เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการแปรรูป และ 4. มาตรการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการบริโภค ด้วยการจัดงานรณรงค์การบริโภคผลไม้ร่วมกับจังหวัดปลายทาง พร้อมประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยในตลาดต่างประเทศด้วย

นอกจากนี้แล้ว ทางกระทรวงเกษตรฯ ยังมีนโยบายเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัยมากขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ ทั้งยังเน้นให้พัฒนากระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้ และส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผลไม้ให้มีความหลากหลาย เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทางการค้าด้วย

คาดว่าจะช่วยลดภาระภาครัฐในการแทรกแซงราคาและสามารถช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศได้ค่อนข้างมาก.

ที่มา : เดลินิวส์

Categories
บทความ ประฃาสัมพันธ์

แนะลดต้นทุนการผลิตข้าว… ด้วยหลัก 3 ต้องทำ 3 ต้องลด – ดินดีสมเป็นนาสวน

แม้ว่ารัฐบาลจะยังคงโครงการรับจำนำข้าวของเกษตรกร แต่มีการปรับลดเงื่อนไขการรับจำนำลงจากเดิมที่เคยรับจำนำทั้งข้าวนาปีและนาปรัง ไม่เกิน 500,000 บาทต่อครัวเรือน โดยปรับเป็นข้าวเปลือกนาปี ฤดูกาลผลิตปี 56/57 รับจำนำที่ 15,000 บาทต่อตัน ลดวงเงินรับจำนำเหลือ ไม่เกิน 350,000 บาทต่อครัวเรือน ส่วนข้าวนาปรัง ปี 57 รับจำนำที่ 13,000 บาทต่อตัน วงเงินไม่เกิน 300,000 บาท

..ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าเกษตรกรเองคงต้องปรับตัวเพื่อสร้างความอยู่รอดอย่างยั่งยืนมากกว่าการพึ่งพารัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว…

นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลจะยังคงไม่ยกเลิก จนกว่าราคาขายข้าวหรือโอกาสของชาวนาที่จะอยู่ได้จากการขายในระบบปกติดีขึ้น ตราบใดที่กลไกราคาตลาดไม่ปกติ รัฐต้องเข้าแทรกแซงราคาโดยการจำนำ แต่จะมีการปรับเงื่อนไขหรือวิธีการบ้าง เพื่อให้รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังและเกษตรกรอยู่ได้ทั้งสองฝ่าย

ทั้งนี้ ถ้ามีการปรับลดราคารับจำนำลงมา สิ่งที่เกษตรกรต้องทำคือลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้ได้รายได้คงเดิมหรือเพิ่มขึ้น ซึ่งเรื่องการลดต้นทุนการผลิต กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พยายามรณรงค์ทุกวิถีทาง กรมการข้าวก็เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ผลักดันเรื่องดังกล่าวมาตลอด เช่น การจัดงานรณรงค์ลดต้นทุนการผลิตข้าวหอมมะลิในทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถกระตุ้นให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงการลดต้นทุนการผลิตข้าวอย่างจริงจัง เพราะจากการจัดนิทรรศการของกรมการข้าวและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ทำให้ทราบว่าเกษตรกรตัวอย่างที่สามารถลดต้นทุนการผลิตข้าวได้หลายร้อยบาทต่อไร่ทำได้จริง

การดำเนินโครงการลดต้นทุนการผลิตข้าวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ที่มีพื้นที่ปลูกข้าวกว่า 2 ล้านไร่ ถ้าสามารถส่งเสริมให้เกษตรกรลดต้นทุนได้ประสบผลสำเร็จจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการขยายผลพื้นที่ปลูกข้าวในภาคอื่นต่อไป โดยเบื้องต้นตั้งเป้าฤดูกาลผลิตปี 56 หรือฤดูกาลหน้าจะเห็นตัวชี้วัด อย่างน้อยทำให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวทุ่งกุลาร้องไห้ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมดหรือคิดเป็น 25% จะต้องลดต้นทุนการผลิตข้าวได้

นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวเพิ่มเติมว่า เป้าหมายของการจัดงานรณรงค์ลดต้นทุนการผลิตข้าว เพื่อต้องการแสดงให้พี่น้องชาวนาเห็นว่าการลดต้นทุนเป็นการแก้ปัญหาให้ชาวนาอย่างยั่งยืน ซึ่งกรมการข้าวมี มาตรการลดต้นทุนการผลิตข้าว คือ 3 ต้องทำ 3 ต้องลด ประกอบด้วย 3 ต้องทำ คือ ต้องปลูกข้าวไม่เกินปีละ 2 ครั้ง ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี ต้องทำบัญชีฟาร์ม ส่วน 3 ต้องลด คือ ลดอัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก ลดการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างไม่ถูกต้อง ลดการใช้สารเคมี ถ้าทำได้ต้นทุนการผลิตจะลดลงไม่ต่ำกว่า 1,000 บาทต่อตัน พร้อมกันนี้ กรมฯ ได้จัดตั้ง หมู่บ้านชุมชนต้นแบบการลดต้นทุนการผลิตข้าวนำร่อง 26 หมู่บ้าน 26 จังหวัด กระจายอยู่ในภาคต่าง ๆ และมีแผนจะขยายผลในปี 2557 ภายใต้ชื่อ โครงการ 1 อำเภอ 1 หมู่บ้านลดต้นทุนการผลิตข้าว

..คาดว่าในปีแรกจะมีหมู่บ้านลดต้นทุนเพิ่มขึ้น 200 หมู่บ้านครอบคลุมทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวขาว ข้าวพื้นเมือง และจะกระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ ให้ครอบคลุมแหล่งปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพให้กับพี่น้องชาวนาต่อไป.

ที่มา :  เดลินิวส์