magbo system
Categories
คำแนะนำสินค้า รายละเอียดสินค้า

ตลับเมตร STANLEY ของแท้

เนื่องจากปัจจุบันมีการแข่งขันในตลาดค่อนข้างสูง ผู้จำหน่ายบางท่านจึงเลือกวิธีการแข่งขันที่ตนเองได้ประโยชน์แต่มองข้ามผลประโยชน์ของผู้บริโภคไป ทำให้มีสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานเข้ามาปะปนในตลาดค่อยข้างเยอะ

ตลับเมตร STANLAY รุ่น PowerLock ก็เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่มีการปลอมแปลงเข้ามาจำหน่าย

3 จุดสังเกตที่ทำให้ท่านมั่นใจ

Categories
บทความ รายละเอียดสินค้า

โรงเรือนสำหรับสายเขียว

กัญชาสามารถเจริญเติบโตได้ทั้งในอลาสก้าไปจนถึงปลายสุดของบราซิล จากเวียดนามไปจนถึงแคลิฟอร์เนีย จากอากาศที่แห้งแร้งอย่างอัฟกานิสถาน ไปถึงเขตร้อนชื้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จึงเกิดเป็นสายพันธุ์ที่หลากหลายที่สามารถปรับตัวเข้ากับการเพาะปลูกตามธรรมชาติทั่วโลก

ในเมื่อกัญชาสามารถปลูกได้ง่ายทั่วโลก แล้วทำไม เราถึงยังต้องการโรงเรือนเพื่อปลูกกัญชาละ

Casey Vaughn of Woodman Peak Farm leans into her tree-tall cannabis plants on the 840-acre farm in Mendocino County. (Chris Vaughn photo)

การปลูกกลางแจ้ง

เมื่อได้รับแสง น้ำ และสามารถอาหารที่เพียงพอสามารถโตได้ถึง 6 เมตรในการปลูกกลางแจ้ง สามารถให้ผลผลิตถึง 2.3 กิโลกรัมต่อต้น ต่อการเก็บเกี่ยวปีละครั้ง(ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในพื้นที่)

ข้อด้อยของการปลูกกลางแจ้งเป็นเรื่องของแมลง เชื้อรา ศัตรูพืช ที่ควบคุมได้ยาก และสำคัญมาก คือ การควบคุมการผสมเกสร ที่ส่งผลโดยตรงต่อปริมาณผลผลิตที่ได้ ทั้งตัวดอกและปริมาณของน้ำมัน

ผลผลิตที่ได้อาจมีการเจือปนของเชื้อรา เชื้อโรคต่างๆ ที่มาจากแมลงและอื่นๆ ตามสภาพอากาศ

การปลูกแบบในร่ม

เป็นที่นิยมปลูกในพื้นที่เล็กๆ ของตนเองที่ไม่ต้องการให้ใครรู้(สมัยนั้น) หากผู้ปลูกมีความชำนาญเพียงพอจะสามารถเก็บผลผลิตได้ถึง 2-3 รอบต่อปี จุดเด่นของการปลูกกัญชง/กัญชาในร่ม คือ สามารถปกป้องดอกกัญชาและขนที่มีอยู่เรซินได้

ข้อด้อยจะเป็นเรื่องของต้นทุนที่สูง และแสงที่ไม่ครบทุกสเปกตรัมมีผลจำกัดจำนวนสารประกอบทางเคมีที่พืชผลิตได้

การปลูกในโรงเรือนเรือน หรือการปลูกแบบควบคุมสภาพแวดล้อมในเรือน

เป็นทางเลือกที่ดีเพื่อให้ได้ผลผลิตสำหรับใช้ในการแพทย์ ระหว่างการปลูกกลางแจ้งกับการปลูกแแบบในร่ม การปลูกภายใต้การควบคลุมสภาพอากาศและได้แสงที่เพียงพอ โดยผู้เพาะปลูกที่มีความชำนาญ ทำให้สามารถมีผลผลิตได้ถึง 3-4 รอบต่อปี

ข้อด้อยจะเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ ต้องควบคุมอุณหภูมิในสภาพอากาศร้อน และควบคุมศัตรูพืชเป็นอย่างดี และแม้จะเป็นการปลูกกึ่งกลางแจ้งแล้ว เพื่อให้สามารถเก็บผลผลิตได้หลายรอบยังต้องการเสริมระบบให้แสงสว่างสำหรับบางช่วงเวลาของปี

โรงเรือนที่ปลูกในบ้านเราควรมีลักษณะอย่างไร

เพื่อให้การควบคุมสภาพอากาศเหมาะสม โรงเรือนที่เหมาะสมจะเป็นโรงเรือนระบบปิด ซึ่งระบบปิดแบบ EVAP มีความเหมาะสมที่สุด เพราะสามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นได้ดีกว่าแบบอื่นๆ

นอกจากเรื่องของสภาพอากาศแล้ว การวิจัยต่างๆ ระบุไปในทางเดียวกันว่า ดอกกัญชาเพศเมียจะให้ปริมาณผลิตที่ดี เราจึงต้องการต้นเพศเมียมากกว่าเพศผู้ การใช้โรงเรือนระบบปิดจะช่วยป้องกันละอองเกสรจากบริเวณอื่นเล็ดรอดเข้ามาผสมพันธุ์ในพื้นที่ปลูกของเราด้วยเช่นกัน

หมายเหตุ โรงเรือน EVAP ไม่สามารถกันแมลง และโรคพืชได้ 100% ขึ้นอยู่กับการดูแล ทั้งอุปกรณ์โรงเรือน บริเวณโดยรอบ รวมถึงวินัยของผู้ปฏิบัติงานที่เข้า-ออกโรงเรือนเป็นประจำ

โรงเรือนจำเป็นต้องมีความสูง 3-6 เมตรไหม?

คำตอบคือ ไม่จำเป็น เราสามารถใช้ความสูงแค่เพียงพอต่อการระบายหรือควบคุมสภาพอากาศภายในได้เลย

ช่วงแรกๆ ที่ทางภาครัฐอนุญาตให้มีการปลูกเพื่อการแพทย์ได้ เรามีความเข้าใจเดิมที่เราควรสร้างโรงเรือนให้มีความสูง 3-6 เมตร เพื่อให้ตัวต้นสามารถเติบโตได้เต็มที่และเก็บเกี่ยวในช่วงดังกล่าว

แต่ความเป็นจริงในปัจจุบันเรามีเทคนิคการปลูกที่สามารถเร่งให้ต้นติดดอกในจำนวนที่มากแม้ว่าตัวต้นจะอายุไม่นานก็ตาม ทำให้ความสูงที่จำเป็นของโรงเรือนถูกลดลงเหลือเพียงขนาดความสูงทั่วไปที่ 2.0-3.0 เมตรเท่านั้น(ความสูงวัดจากพื้นถึงคาน)

ต้องเป็นโรงเรือน EVAP เท่านั้นถึงปลูกได้รึเปล่า? ใช้โรงเรือนมุ้งปกติปลูกได้ไหม?

ปลูกได้ แต่จะเป็นโรงเรือนกึ่งปิดที่ใช้พลาสติกคลุมหลังคา และใช้มุ้งกันแมลงเพื่อช่วยในการระบายอากาศ หรือโรงเรือนเปิดที่มีเพียงพลาสติกโรงเรือนคลุมหลังคา

โรงเรือนเหล่านี้มีโจทย์ที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม เช่น 

แมลงศัตรูพืชที่มากกว่าโรงเรือน EVAP
ความชื้นที่ควบคุมได้ยากกว่าโรงเรือน EVAP
โรคพืชที่ควบคุมได้ยากกว่าโรงเรือน EVAP
อุณหภูมิที่มีความไม่มีแน่นอนมากกว่าโรงเรือน EVAP

หากผู้ปลูกได้พิจารณาปัจจัยเหล่านี้และวางแนวทางการแก้ปัญหาไว้แล้ว ก็สามารถใช้โรงเรือนแบบอื่นๆ ปลูกได้เช่นเดียวกับโรงเรือน EVAP

ควรมีระบบไฟสำรอง กรณีชั่วโมงแสงไม่พอ

สำหรับพันธุ์การติดดอกนั้นสัมพันธ์กับจำนวนชั่วโมงแสงที่ได้รับต่อวัน ระบบแสงชดเชยแสงธรรมชาติจึงมีความจำเป็น

เราอาจมีความเข้าใจว่าแสงประเทศของเรามีปริมาณมากล้น แต่ในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ในรอบปีของเรามีบางฤดูกาล(ฤดูฝนหรือฤดูหนาว)ที่แม้จะมีแสง แต่ความปริมาณของแสงยังไม่เพียงพอต่อต้นกัญชา ส่งผลให้ต้นเกิดความเครียดจนเร่งให้มีการสร้างช่อดอก และดอกตามลำดับ หากเหตุการณ์ดังกล่าวอยู่ในช่วงเวลาทีเหมาะสมย่อมถือเป็นผลดีต่อการเก็บเกี่ยว แต่หากเป็นช่วงที่ต้นยังเล็กเกินไปจะทำให้ผลผลิตไม่ได้ปริมาณตามที่ต้องการและต้องเสียต้นดังกล่าวไปเลย

แต่ถ้าสายพันธุ์ที่ปลูกเป็นสายพันธุ์ที่ไม่มีความสัมพันธ์ต่อชั่วโมงรับแสง ระบบแสงชดเชยแสงธรรมชาติอาจเป็นการสิ้นเปลื้องโดยเปล่าประโยชน์เช่นกัน

เราทราบกันดีว่าตัวต้นมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปขึ้นกับแสงที่ได้รับ พลาสติกหลังคาโรงเรือนจึงมีผลอย่างมากต่อการเติบโตของต้น เพราะ เป็นวัสดุชิ้นแรกที่เจอแสง และสามารถเปลี่ยนคุณสมบัติต่างๆ ของแสงได้ก่อนถึงตัวต้น ปัจจุบันเรามีพลาสติกโรงเรือนที่ออกแบบให้มีคุณสมบัติช่วยลดภาระในการดูแลตัวต้นลง

เราปลูกเพื่อน้ำมันบริเวณดอก พลาสติกที่มีคุณสมบัติคัดเลือกช่วงของแสงที่ผ่าน ทำให้พฤติกรรมต้นไม้มีการติดดอกมากกว่าเมื่อเทียบกับพลาสติกโรงเรือนทั่วไป ช่วยลดภาระงานของผู้ปลูกที่ต้องจัดแต่งปัจจัยต่างๆ ให้เหมาะสมกับการติดดอก

ตัวต้นที่ไม่ชอบอากาศที่ร้อนมากๆ (45++) พลาสติกที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสงอินฟาเรดออก ทำให้อากาศภายในโรงเรือนมีอุณหภูมิที่ลดลงเมื่อเทียบกับพลาสติกโรงเรือนทั่วไป ช่วยลดภาระของการควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือน

ขอบคุณผู้สนใจทุกท่านที่อ่านกันมาจนจบ สิ่งที่เราคิดไว้ตอนเริ่มเขียนบทความนี้ คือ “ควรรู้ก่อนซื้อ ดีกว่าซื้อแล้วรู้ที่หลัง”

เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความเล็กๆ ของเราจะช่วยต่อเติม และช่วยเหลือให้เกษตรกรที่ผู้ใช้งานลดภาระค่าอุปกรณ์ลง และสามารถแข่งขันได้

หากมีส่วนใดของบทความมีความสับสนไม่ชัดเจน สามารถคอมเม้นสอบถามเข้ามาได้เลย ทางเรามีทีมงานคอยให้ข้อมูล

ท่านใดที่ต้องการสร้างโรงเรือน สามารถสอบถามเพื่อคำนวณราคาวัสดุเบื้องต้นกับเราได้เลย

ท่านที่มีโรงเรือนอยู่แล้วต้องการสั่งซื้อสามารถสั่งได้ผ่านระบบออนไลน์
http://bit.ly/31kWiVQ

หากท่านต้องการสั่งซื้อแบบจำนวนมาก เป็นร้านค้า หรือต้องการนำสินค้าไปจำหน่ายต่อ 
กรุณาติดต่อฝ่ายขาย : 034-410-767 (6 คู่สาย)
Line ID : @kongsawat.com หรือผ่าน http://bit.ly/35I2jPe

Categories
คำแนะนำสินค้า บทความ รายละเอียดสินค้า

มากกว่าแค่กำจัดวัชพืช

“พลาสติกคลุมดินกำจัดวัชพืช” เป็นมากกว่าแค่กำจัดวัชพืช ช่วยเพิ่มความสามารถในการใช้พื้นที่ๆ มีอยู่ แต่ยังไม่ถูกใช้งาน ได้อย่างคุ้มค่า ☘️

? วันนี้เราพาท่านไปดูโรงเรือนภายใต้แนวคิด “ทำงานครั้งเดียว” ตั้งแต่เริ่มต้น เป็นโรงเรือนที่มีการคิดคำนวณมาอย่างดีเยี่ยม สามารถใช้งานพื้นที่ในโรงเรือน ทั้งแนวตั้งและแนวราบได้เต็มพื้นที่ อีกทั้งยังดูแลรักษาง่าย มีความสวยงาม สามารถต่อยอดให้ลูกค้าเข้าเยี่ยมชมแล้วเกิดความประทับใจ

พลาสติกคลุมดินกำจัดวัชพืช คืออะไร?

? เป็นผืนพลาสติกประเภทสาน(จักสาน) โดยใช้เส้นเทปทึบแสง เพื่อให้แสงไม่สามารถผ่านลงไปได้ และด้วยการจักสานนี่เองทำให้มีช่องว่างระหว่างเส้นเทป จึงมีคุณสมบัติที่น้ำสามารถซึมผ่านได้

ความสามารถในการกำจัดเกิดจากปัจจัยใดบ้าง?

? เกิดจากความทึบแสง และความหนาแน่นในการทอ กล่าวคือ เส้นเทปที่ทึบแสงทำให้แสงผ่านลงไปไม่ได้ แต่แสงบางส่วนก็ยังสามารถผ่านได้ตามช่องว่างระหว่างเส้นเทปได้ อีกทั้งวัชพืชบางชนิดก็สามารถขึ้นได้แม้ไม่มีแสงหรือมีแสงเพียงเล็กน้อยก็สามารถเติบโตได้ ความหนาแน่นในการสานจะมาช่วยให้หน่อของวัชพืชเหล่านั้นแทรกตัวขึ้นมาได้ยากขึ้น

⭐ สำหรับท่านที่มีโรงเรือนแล้ว หรือกำลังมีแผนที่จะสร้าง จะทราบดีว่าการปลูกในโรงเรือนนั้นเรามักจะปลูกบนวัสดุอื่นที่ดินเดิมของพื้นที่นั้น เช่น กระถาง โต๊ะปลูก แปลงยก(raised-bed) เป็นหลัก

☀ จึงเป็นเหตุให้พื้นหรือฐานโรงเรือนไม่ถูกนำมาใช้เป็นเรื่องหลัก มักเป็นเพียงการปรับพื้นให้เรียบโดยดินเดิม หรือนำทราย หินกรวดเข้ามาช่วยปรับเพิ่ม และนานเข้าก็ไม่พ้นปัญหาวัชพืชตามทางเดิน ใต้โต๊ะปลูก

? หากมองโดยรวมก็เป็นปัญหาเล็กๆ โต๊ะปลูกเราก็ยกขึ้นมาแล้ว หรือพื้นที่ปลูกเราก็กันส่วนไว้แล้ว แต่หากคิดอีกมุมหนึ่งเรากำลังมีปัญหากับ “การจัดการโรงเรือนในระยะยาว”

  • วัชพืชที่ขึ้นนอกบริเวณปลูก สุดท้ายเราก็ต้องลงแรงรื้อถอน
  • ระหว่างที่มีวัชพืช จะเป็นที่ซ่อนของแมลงนอกแปลงไหม?
  • นอกแปลงปลูกเราก็ยังต้องฉีดพ่นยา(หรือชีวภัณฑ์)กำจัดแมลงไหม?
  • วัชพืชรอบแปลงจะกินปุ๋ยเราแทนพืชหลักของเราไหม?

? สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนแฝงเล็กๆ น้อยๆ เป็นปัญหาจุกๆ จิกๆ ที่ไม่ต้องนำมาคิดก็ได้

แต่การปูพื้นภายในโรงเรือนด้วยพลาสติกคลุมดินกำจัดวัชพืช ภายใต้แนวคิด “ทำงานครั้งเดียว” จะทำให้ปัญหาจุกจิกหายไปทันที

? นอกจากช่วยแก้ปัญหาจุกจิกเหล่านั้นแล้ว เมื่อเรามีปูพลาสติก คลุมดินกำจัดวัชพืช ก่อนนี้พื้นที่เหล่านั้นอาจะเป็นเพียงทางเดิน หรือพื้นที่ใต้โต๊ะปลูกที่วัชพืชขึ้น ตอนนี้เราก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย

  • คำนวณการเทพื้นปูคอนกรีต 10 เซนติเมตร 
    • -ค่าปรับพื้น โดยรวมค่าแรงตารางเมตรละ 80-100 บาท
    • -ค่าคอนกรีต สเตรน 240 ตารางเมตรละ 160-180 บาท
    • -ค่าไวร์เมต ตร.ม. ละ 40-50 บาท
    • -ต้องติดตั้งโดยช่างที่มีอุปกรณ์
  • คำนวณใช้พลาสติกคลุมดินกำจัดวัชพืช
    • -ค่าปรับพื้น โดยรวมค่าแรงตารางเมตรละ 80-100 บาท
    • -ค่าพลาสติก ตารางเมตรละ 17-40 บาท
    • -สามารถติดตั้งพลาสติกได้ด้วยตนเอง

?จะเห็นว่าการใช้พลาสติกคลุมดินกำจัดวัชพืชเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ ลดต้นทุนการสร้างโรงเรือนได้จริง ติดตั้งง่ายไม่ซับซ้อน และเมื่อมีการเปลี่ยนแผนหรือย้ายสถานที่ก็ยังสามารถถอดย้ายได้

??โรงเรือนเป็นการลงทุน หากเดิมไม่มีแผนในส่วนของพื้นหรือฐานโรงเรือนอยู่แล้ว การลงทุนเพิ่มอีกเล็กน้อย แต่ช่วยขจัดปัญหาจุกจิกในระยะยาวก็เป็นสิ่งที่น่านำมาพิจารณา

?อีกทั้งการลงทุนพลาสติกคลุมดินกำจัดวัชพืชยังช่วยให้พื้นที่ๆ อาจเคยถูกมองข้ามไปถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ แม้แต่ใต้โต๊ะปลูกก็สามารถใช้งานได้

ปัจจุบันเรามีพลาสติกคลุมดินกำจัดวัชพืชตามความเหมาะสมอยู่ดังนี้

? รุ่น UV ที่ความหนา 100-110 กรัมต่อตารางเมตร ให้ความ คุ้มค่าสูง ใช้งานกลางแจ้งได้ ทนต่อการเดินเหยียบย่ำเป็นอย่างดี 

? รุ่น Super UV ที่มีความหนามากขึ้นมาอยู่ที่ 230-240 กรัมต่อ ตารางเมตร เพิ่มอายุการใช้งาน ความหนาแน่นสูง ลดปัญหาหญ้าขึ้นแทรก รับแรงกดทับได้ถึง 120 กิโลกรัมต่อตารางเมตร 

Categories
คำแนะนำสินค้า บทความ

วิธีการเลือกสี – แสลนกรองแสง

ทำไมเราจึงมีแสลน??

คำตอบที่สามารถตอบได้ทันทีเลยคือ “บังแดด” หรือ “แสงมันมากเกินไป เราเอามากันแสง”?

แต่ถ้าถามต่อว่า ทำไมแสลนมีหลายสีจัง มันต่างกันยังไง??

คำตอบที่ได้จะเริ่มคลุมเครือ และเริ่มเป็นคำตอบเชิงอารมณ์มากกว่าเหตุปัจจัยจริงๆ เช่น “สีนี้มันสวยดี” “สีนี้เหมาะเข้ากับตัวบ้านดีนะ”

☘️บทความนี้จะพาท่านไปหาเหตุและผลต่างๆสำหรับการเลือกใช้แสลนกรองแสงตามหลักวิชาการ ความต้องการของพืช และวิธีการรู้ความต้องการเบื้องต้นของพืช

ก่อนจะพาไปในเรื่องราวที่ลึกกว่านี้ เราต้องเข้าใจเรื่องของแสงแบบเบื้องต้นกันก่อน ?
1.แสงที่เราเห็นเกิดจาก แสงไปกระทบวัตถุต่างๆ แล้วสะท้อนเข้าตาเรา
2.แสงที่เราเห็นเกิดจาก แสงหลายๆสีผสมกันอยู่ แบ่งเป็นแม่สีได้ดังนี้ แสงสีแดง แสงสีเขียว แสงสีน้ำเงิน

ต้นไม้เห็นแสงเหมือนกับที่เราเห็นไหม?☘️

คำตอบ คือ ไม่ ต้นไม้ไม่ได้เห็นแสงเหมือนกับเรา โดยเราสามารถสังเกตง่ายๆนั้น คือ ใบของต้นไม้ที่เราเห็นเป็นสีเขียว เกิดจากใบของต้นไม้ดูดซับแสงสีอื่นๆเข้าไปหมด ยกเว้นแสงสีเขียว

เราจึงเห็นสีเขียวที่ใบไม้สะท้อนเข้าตาเรา?

เรามาดูหลักการเบื้อนต้นของแสลนกันบ้าง

? แสลนกรองแสง – ลดแสง หรือจะเรียกชื่อว่าอะไรก็แล้วแต่ หลักการจริงๆที่เราใช้ คือ หลักการของ “เงามัว : Penumbra” ทั้งหมด ซึ่งการเกิด “เงามัว” ของพลาสติกแต่ละอย่างจะไม่เหมือนกัน เช่น

1.แผ่นฟิล์มกรองแสง ☂️ (นิยมใช้ในวงการยานยนต์) ซึ่งจะเกิดเงามัวเท่ากันทั้งหมดในพื้นที่ของฟิล์ม ตัวฟิล์มมีลักษณะไม่ทึบแสง เพื่อให้แสงผ่านตามปริมาณที่กำหนด (Light Transmission Ratio)

2.แสลนกรองแสง ☔️ (นิยมใช้ในวงการก่อสร้าง และการเกษตร) เกิดจากเส้นเทป(หรือด้าย)ที่มีลักษณะทึบแสงกว่ามากเมื่อเทียบกับประเภทฟิล์ม จากนั้นทำให้เกิดเงามัวจากการ “ถัก” หรือ “ทอ” โดยวางระยะเส้นเทปตามที่กำหนด เพื่อบีบปริมาณแสงตามที่ต้องการ

? สัดส่วน หรือเปอร์เซ็นต์การกรองแสงของแสลน คืออะไร?

คือสัดส่วน ของแสงที่กรองไว้โดยเทียบจากแสลนสีดำเป็นหลัก เช่น กรองแสงสีเทา-เงินที่เราใส่สารเพิ่มการสะท้อนแสงในเส้นเทป แม้ว่าจำนวนเส้นเทปต่อตารางนิ้วจะเท่ากันกับสีดำ สีเทา-เงินย่อมปล่อยแสงผ่านมากกว่าสีดำ เป็นต้น

เช่นเดียวกันกับแสลนสีอื่นๆ เช่น สีขาว หรือสีเขียว เนื่องจากเส้นเทปของสีเหล่านี้ไม่ทึบแสง 100% จึงทำให้แสงบางส่วนผ่านเส้นเทปเข้าไปได้มากกว่าสีดำ และสีของแสงก็ถูกเปลี่ยน(ดูดกลืน และสะท้อน)ไปตามสีของแสลนนั้นๆ

การเลือกซื้อแสลนสีเขียว

สีเขียวเป็นสีที่มีผลต่อพฤติกรรมของพืชเด่นชัดที่สุด โดยอาศัยการอธิบายจากสีของใบไม้ ที่ดูดกลืนแสงสีอื่นๆเข้าไปหมด แล้วสะท้อนแสงสีเขียวเข้าตาเรา

นั้นหมายความว่า ใบของพืชจะใช้ประโยชน์จากแสงสีอื่นๆ การที่เราเปลี่ยนสีของแสงให้เป็นสีเขียวนั้น ทำให้พืชได้ประโยชน์น้อยลงจนถึงไม่ได้เลย และเพื่อให้ตนเองรอด พฤติกรรมของต้นไม้จึงทำการยึดตัวเองเพื่อหาแสงให้ได้มากขึ้น พืชที่อยู่ใต้แสลนสีเขียวนานๆ จะมีลำต้นยืดหรือแขนงต่างๆยื่นเข้าหาแสงที่ยาวกว่าปกติ

? แสลนสีเขียวเหมาะสมกับงานที่ต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมของพืช เหมาะกับบ่อน้ำ บ่อเลี้ยงกบ หรือสระน้ำที่ต้องการลดการเกิดของตะไคร่น้ำภายในบ่อ ?

การเลือกซื้อแสลนสีแดง และสีน้ำเงิน(ฟ้า)

เป็นสีของแสงที่พืชใช้ประโยชน์ได้ทั้งพืชใบ และพืชผล ซึ่งแต่ละสีจะมีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมพืชที่ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับพืชชนิดนั้นๆอีกทีหนึ่ง เช่น พืชผลบางประเภทที่ใช้แสลนสีแดงจะมีพฤติกรรมติดดอกมากกว่าปกติ หรือพืชใบที่ใช้แสลนสีน้ำเงินจะทำให้ใบมีสีเข้มขึ้นมากกว่าปกติ เมื่อเทียบการใช้แสลนสีดำในสัดส่วนที่เท่ากัน

?นอกจากพืชแล้วแสลนสีต่างๆยังมีผลต่อแมลงด้วย เช่น สีแดง หรือสีเหลืองที่ส่งผลให้แมลงบางชนิดมีการตาบอด ไม่สามารถเข้าใกล้หรือเข้าในบริเวณที่ใช้แสลนสีดังกล่าวได้?

การเลือกซื้อแสลนสีเทา-เงิน และสีขาว ☀️

⛅️เป็นสีกลางๆที่ไม่เปลี่ยนแปลงสีของแสงจนมีผลต่อพฤติกรรมของพืช ประโยชน์ของแสลนกลุ่มนี้จะเป็นเรื่องความต้องการแสงและใช้ประโยชน์อื่นๆที่แสลนสีดำทำไม่ได้ เช่น

?โรงดอกไม้ หรือกล้วยไม้กลางแจ้งโดยปกติจะใช้แสลน 60% สีดำ โดยให้แสงผ่านประมาณ 40% แต่เมื่อเข้าฤดูมรสุมแสลน 60% นั้นเส้นเทปยังมีความห่างพอสมควร ทำให้แรงลมในโรงเรือนต้นไม้มีความรุนแรงส่งผลให้ช่อหัก หรือดอกเสียหาย ?

? กรณีเดียวกันถ้าเปลี่ยนเป็นแสลนสีเทา-เงินที่ความถี่ 80% เส้นเทปจะเรียงชิดแน่น แต่ยังให้แสงผ่าน 40% เท่ากัน เมื่อมีมรสุมเข้า ด้วยเส้นที่เรียงชิดแน่นช่วยลดแรงลมที่ผ่านเข้าโรงเรือน ป้องกันความเสียหายของสวนได้

️ขอบคุณผู้สนใจทุกท่านที่อ่านกันมาจนจบ สิ่งที่เราคิดไว้ตอนเริ่มเขียนบทความนี้ คือ “ควรรู้ก่อนซื้อ ดีกว่าซื้อแล้วรู้ที่หลัง”?

?เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความเล็กๆของเราจะช่วยต่อเติม และช่วยเหลือให้เกษตรกรที่ผู้ใช้งานลดภาระค่าอุปกรณ์ลง และสามารถแข่งขันได้

หากมีส่วนใดของบทความมีความสับสนไม่ชัดเจน สามารถคอมเม้นสอบถามเข้ามาได้เลย ทางเรามีทีมงานคอยให้ข้อมูล?

แสลนตราฉลาม เป็นแสลนที่อยู่คู่กับเกษตรกรมากว่า 20 ปี ถูกพิสูนจ์มาตรฐาน และคุณภาพความทนทานมากอย่างยาวนาน

?หากต้องการสั่งซื้อสามารถสั่งได้ผ่านระบบออนไลน์

กดที่ลิ้งได้เลย http://bit.ly/2NEvKwL

?หากท่านต้องการสั่งซื้อแบบจำนวนมาก เป็นร้านค้า หรือต้องการนำสินค้าไปจำหน่ายต่อ 

กรุณาติดต่อฝ่ายขาย : 034-410-767 (6 คู่สาย)

Line ID : @kongsawat.com หรือผ่าน http://bit.ly/35I2jPe

Categories
คำแนะนำสินค้า ประฃาสัมพันธ์ ผู้ช่วยมือใหม่

ไม้ไผ่เทียม ไอเท็มลับของเกษตรชาวญี่ปุ่น

เมื่อมาลองนึกถึงสุดยอดเครื่องมืออเนกประสงค์ของชาวเกษตรกรแล้วคงหนีไม่พ้น ไม้ไผ่ มันอเนกประสงค์ชนิดที่ว่านำมาทำได้ตั้งแต่ค้างไม้เลื้อยยันเสาโรงเรือนกันเลย แต่พอมานึกถึงอายุการใช้งานของมันแล้วก็แสนสั้น บางครั้งเจอลมฝนเข้าไปเพียงฤดูกาลเดียวก็พากันกรอบจนเป็นปุ๋ยแทน แถมบางทีไม่วายกลายรังของแมลงที่คอยเข้ามากระหน่ำซ้ำให้พืชผักของเราให้ปวดหัวอีก ด้วยเหตุนี้ประเทศญี่ปุ่นจึงได้มีการพัฒนาอุปกรณ์วิเศษขึ้นโดยเลียนแบบความยืดหยุ่นและสุดอเนกประสงค์ของไม้ไผ่จนเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ไม้ค้างเหล็กเคลือบพลาสติก หรือบางคนก็จะเรียกว่า ไม้ไผ่เทียม

ข้อดีของไม้ค้างพลาสติกหรือไม้ไผ่เทียมคือ ความตรงที่แน่นอน น้ำหนักที่เบา และ ขนาดที่เล็ก นอกจากนี้ยังแข็งแรงทนนาน แถมยังมีวิธีการใช้งานที่หลากหลายเช่น

ใช้ทำไม้ค้ำไม้เลื้อย หรือ ไม้ค้างแตง

ขั้นตอนการทำไม้ค้างแตงจะใช้วิธีเดียวกันกับที่เราใช้ไม้ไผ่มาทำค้าง คือ ปักท่อนค้างดินเป็นแนวแทยงให้ปลายเข้าหากัน โดยที่ปลายของไม้ค้างพลาสติกจะมีด้านแหลมอยู่ เพียงกดด้านแหลมลงดินแท่งเสาไม้ค้ำก็จมลงดินได้อย่างง่ายดาย ส่วนตรงด้านหัวที่ไขว้กันไว้เพียงนำไม้ค้างพลาสติกอีกด้ามมาวางทับแล้วมัดให้แน่นเพื่อความแข็งแรงก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย เพียงเท่านี้เราก็จะได้ไม้ค้างแตงพร้อมใช้งานได้ทันที

นอกจากนี้ไม้ค้างพลาสติกชนิดนี้ยังมีปุ่มพิเศษรอบ ๆ ตัววัสดุ ปุ่มเหล่านี้มีหน้าที่ช่วยให้เคลือของผักยึดจับและไม่หลุดตกลงมาได้ง่าย ๆ ต่างจากไม้ไผ่จริงที่เป็นปล้องกลมลื่น ๆ ทำให้เครือผักหลุดตกลงมาได้

ใช้ทำไม้ค้ำผัก

เนื่องจากไม้ไผ่เทียมหรือไม้ค้างเหล็กเคลือบพลาสติกมีความยาวให้เลือกหลากหลาย เราจึงสามารถเลือกรุ่นที่มีความยาวพอเหมาะมาใช้เป็นไม้ค้ำผักบนแปลงเพื่อช่วยพยุงผักของเราไม่ให้ล้มได้อีกด้วย

ใช้ทำเป็นไม้โครงทำอุโมงค์ผัก

นอกจากรุ่นแท่งตรงแล้ว เรายังมีรุ่นโค้งสำเร็จที่นำมาปักตามร่องแปลงเสร็จแล้วคลุมพลาสติกไว้ด้านบนเท่านั้นเราก็จะได้อุโมงค์แปลงผักที่ทำได้ง่าย ๆ และยังทนทานใช้ได้นานอีกด้วย

Categories
คำแนะนำสินค้า บทความ

ความเข้าใจผิด?

เกี่ยวกับพลาสติกโรงเรือน

เสียเวลา 5 นาที ดีกว่า เสียเงินเป็นหมื่น
แล้วไม่ได้ของที่ต้องการ??
? การปลูกพืชแบบเน้นคุณค่ามากกว่าปริมาณเป็นที่นิยม และแพร่หลายในประเทศไทยมาระยะหนึ่งแล้ว การใช้โรงเรือน(Greenhouse) จึงขยายตัวตามไปด้วย
☀️ หลายครั้งผู้ที่สนใจมักได้รับข้อมูลแปลกๆที่ไม่เป็นความจริง ซึ่งทำให้เราเป็นกังวลมาก เพราะ ความเข้าใจผิดบางอย่าง เมื่อลงทุนไปแล้วแก้ไขได้ยาก เสียเงินซ้ำซ้อน บางอย่างส่งผลต่อพืชที่ปลูก ลงแรงไปก็มาก แต่กลับไม่ได้สิ่งที่ต้องการ
?และเหมือนทุกๆครั้ง เพราะเราเชื่อว่า “ควรรู้ก่อนซื้อ ดีกว่าซื้อแล้วรู้ที่หลัง” เราจึงรวบรวมข้อมูลต่างๆแบบละเอียด เพื่อให้ผู้ซื้อ ผู้บริโภคได้ใช้งานแบบถูกต้อง ถูกลักษณะ ไม่เสียเงินซ้ำซ้อน

☀️ความเข้าใจผิดที่เราพบเจอบ่อยที่สุด คือ “พลาสติกกันแสง UV กี่ %”☀️

?เราคาดว่า น่าจะเกิดจากตัวเลข % ของสินค้า เช่น “พลาสติกโรงเรือน UV7%”  อาจทำให้ผู้อ่าน เข้าไปใจว่า พลาสติกโรงเรือนนี้ สามารถกรองแสง UV ได้ 7% ซึ่งไม่ถูกต้อง

?ในความเป็นจริงตัวเลข “UV7%” หมายถึง มีส่วนผสมของสารเพิ่มความทนทานต่อ UV (UV Resistant) ลงไปในเนื้อพลาสติก 7% มีผลให้พลาสติกทนทานสามารถใช้งานกลางแจ้งได้เป็นเวลานาน

☘️เช่น พลาสติกโรงเรือน UV3% กับพลาสติกโรงเรือน 7% พลาสติกโรงเรือนที่ผสมสารดังกล่าวมากกว่า ก็จะทนทานต่อแสงแดดได้ยาวนานกว่า (ถ้าพลาสติกนั้นผสมตามที่ระบุไว้จริงๆ)

“แล้วพลาสติกเราสามารถทำให้กรองแสง UV ได้จริงๆหรือไม่?”

?คำตอบคือ “เราสามารถทำได้ครับ”

☝️โดยศัพท์ที่เราใช้กับพลาสติกที่กรองแสง UV ได้จริงๆจะเป็นคำประมาณนี้ครับ

  • ? กันแสง UV (UV Block) หมายถึง พลาสติกสามารถปิดกั้นแสงในช่วงความถี่ 100-360 นาโนเมตรไม่ผ่านตัวพลาสติกได้
  • ? สะท้อนแสง UV(UV Reflect) หมายถึง พลาสติกสามารถสะท้อนแสงในช่วงความถี่ 100-360 นาโนเมตรไม่ผ่านตัวพลาสติกได้
  • ? ดูดซึมแสง UV (UV Absorber) หมายถึง พลาสติกมีสารที่ไวต่อแสง UV เมื่อมีแสงในช่วงคลื่น 100-300 นาโนเมตรเข้ามา ตัวสารเติมแต่งดังกล่าวจะดูดซึมไว้ แล้วสารดังกล่าวจะค่อยๆสลายไปตามการใช้งาน

ตัวพลาสติกอาจมีความสามารถกันแสงช่วงคลื่นที่แตกต่างกัน แล้วแต่สารเติมแต่งที่ผู้ผลิตใส่ลงไป

? ในโลกนี้มีพลาสติกแบบนี้ขายจริงๆไหม “มีครับ” ในบ้านเราก็มีครับ จะเป็นพลาสติกจากญี่ปุ่น หรือยุโรปบางประเทศ แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เพราะ ถือเป็นพลาสติกเฉพาะทาง มีผลต่อพืชหลากหลายแบบตามพันธุ์พืชที่ปลูก เช่น พืชบางพันธุ์ถ้าไม่มีแสงในช่วงคลื่น UV เลย จะไม่ออกสี สีไม่สวยก็ขายไม่ได้ เป็นต้น

ถ้าท่านต้องการพลาสติกชนิดนี้จริงๆ ควรศึกษารายละเอียดของพืชที่ปลูก และต้องขอเอกสารรับรองการปิดกั้นว่า ปิดช่วงคลื่นไหนได้บ้างก่อนการซื้อทุกครั้ง

? เมื่อทีมเทคนิคเราอธิบายตามรูปไปแล้ว จะมีคำถามต่อมาทันที่ คือ “ถ้ามันไม่ได้กันแสง UV ทำไมต้นไม้ในโรงเรือนจึงโตดี แต่ด้านนอกโรงเรือนกับตายละ?”

? แน่นอนว่าเราย่อมมีคำอธิบาย เหตุเกิดจาก “Light Transmission Ratio” หรือ “สัดส่วนแสงที่ส่องผ่านวัสดุ” พลาสติกโรงเรือนทั่วไปจะมีค่านี้อยู่ที่ 75%-90% เช่น 90% จะหมายถึง แสงมา 100 ผ่านเข้าโรงเรือนไป 90 อีก 10 จะถูกฟิลม์กันไว้ 

?ส่งผลให้แสงในทุกช่วงคลื่นไม่ว่าจะเป็น UV PAR และ IR ที่เข้าโรงเรือนมาน้อยลงทั้งหมด จึงเป็นคำอธิบายว่า “ทำไมต้นไม้ฉันถึงโตดีในโรงเรือน เพราะ โรงเรือนกรองแสงออกไปบางส่วนแล้ว แสงที่เหลือเข้ามาพอเหมาะกับต้นไม้พอดี แต่ข้างนอกอาจได้รับแสงมากเกินไป จึงตาย”

?ค่าดังกล่าวจะมาก-น้อยขึ้นกับปัจจัยต่อไปนี้

  • ? ฝุ่น พลาสติกโรงเรือนเมื่อผ่านการใช้งาน ผ่านฝนมาอาจมีฝุ่นเกาะ ทำให้แสงผ่านได้น้อยลง
  • ? วัตถุดิบ ถ้าเป็นวัตถุดิบที่ดี ไม่มีการปนเปื้อน จะมีค่าแสงผ่านที่ดี ถ้าเป็นวัตถุดิบที่ไม่ได้คัดมา อาจมีความขุ่นทำให้แสงผ่านได้น้อยลง

? ต้นเรื่องจริงๆ ต้องย้อนเวลากลับไปประมาณ 10-15 ปีที่แล้ว ที่เราเพิ่งเริ่มคุ้นชินกับการใช้พลาสติกโรงเรือน

☄️ มีบริษัทจำนวนมากเข้ามาทำตลาด และบางบริษัทก็พยายามลดต้นทุนด้วยวิธีการนำเม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่ไม่ได้คุณภาพเข้ามาผสม พลาสติกที่ไม่ได้คุณภาพเหล่านี้จะมีเอกลักษณ์บางอย่างที่แก้ไขไม่ได้ คือ “ความขุ่น” 

? และจากการแข่งขันทำให้มีการพูดเพื่อโจมตีคู่แข่งกันไปมา รวมถึงความขุ่น ความใสของเนื้อพลาสติก ทำให้มีความเชื่อว่า “พลาสติกที่ขุ่น เป็นพลาสติกที่ไม่ดี พลาสติกที่ดีต้องใส เงา เท่านั้น”

??ซึ่งนั้นเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียวเมื่อ 10 ปีที่แล้ว??

? ปัจจุบันเรื่องกลับตาลปัตรไปไกลมาก จากที่เกษตรกรเรามีการไปดูงานการเพาะปลูกพืชในแทบทะเลทราย(อิสราเอล) ซึ่งเค้ามีการใช้พลาสติกขุ่นที่ดูภายนอกก็เป็นพลาสติกขุ่นๆธรรมดา แต่กลับแฝงด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ในชื่อ “พลาสติกกระจายแสง : Diffused Film”?

? จากนั้นจึงเริ่มมีการนำ พลาสติกโรงเรือนรุ่นกระจายแสงเข้ามาใช้งานในประเทศไทย ซึ่งมีคุณสมบัติพร่าแสง (Diffused) ให้แสงที่เข้ามาในโรงเรือนมีการกระจายตัวสว่างทั่วทั้งโรงเรือน ปัจจุบันเราสามารถผลิตและส่งออกได้แล้ว

นอกจากพลาสติกโรงเรือนที่มีคุณสมัติ Diffused แล้ว ในประเทศไทยมีการใช้พลาสติกโรงเรือนที่มีคุณสมบัติพิเศษอื่นๆอีกหลากหลายแบบ เช่น 

?ในพื้นที่ๆมีปริมาณฝนมาก และเกิดหยดน้ำเกาะบริเวณหลังคา พลาสติกที่มีคุณสมบัติผิวมันลื่น (Anti-dripping film)จะเข้าไปช่วยให้น้ำไม่เกาะตัว ลดการเกิดเชื้อราได้ดี

?ในพื้นที่ๆมีปริมาณการจราจรค่อนข้างเยอะ ฝุ่นไปเกาะโรงเรือนมากๆจนแสงผ่านน้อย ก็สามารถใช้พลาสติกโรงเรือนที่มีคุณสมบัติกันฝุ่นเกาะ (Anti-dusting film)ได้ เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล

☃️ในพื้นที่ๆต้องการลดอุณหภูมิในโรงเรือนลง ก็สามารถใช้พลาสติกที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสงช่วงคลื่นอินฟาเรด (Cooling film) ลดช่วงคลื่นของแสงที่ไม่ต้องการเข้ามาในโรงเรือนได้

?“หนาแล้วทนกว่าบางรึเปล่า?” “หนาเท่าไหร่ถึงจะดี?” เป็นคำถามเราเจอกันบ่อย แต่กลับเป็นคำถามที่ยากจะตอบ ส่วนหนึ่งเกิดจากความเข้าใจผิดของตัวคำถามเอง เช่น 

“พลาสติกหนา 200 ไมครอน ใช้ได้นานกว่า(หรือทนทาน) 100 ไมครอนใช่ไหม??”

การตอบคำถามนี้ เราต้องแยกมาเป็นข้อๆก่อน

?ความทนทานต่อแสงแดด ถ้าพลาสติกผสมสารเพิ่มความทนทานต่อ UV เท่ากัน ต่อให้ความหนาต่างกัน ความทนทานต่อแสงแดดย่อมไม่ต่างกันมากนัก 

คำถามที่ว่า “หนากว่า=ทนแดดได้นานกว่า” จึงไม่จริง?

✌️ความทนทานต่อแรงกระทำอื่นๆ เช่น แรงลม หนูแทะ ฝนตก ความร้อน ลูกเห็บ ความหนามีผลต่อแรงกระทำในส่วนนี้แน่นอน 

คำถามที่ว่า “หนากว่า=ทนพายุได้ดีกว่า” จึงเป็นจริง?

เวลาที่พิจารณาเรื่องความหนาจึงควรมองสภาพแวดล้อมที่ปลูก เช่น 

ปลูกในเมือง ลมไม่แรง มีตึกบัง จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้พลาสติกที่หนามากๆ แต่ถ้าเป็นกลางทุ่ง ลมแรง ไม่มีอะไรบังลมเลย สมควรใช้พลาสติกที่มีความหนาจึงจะเหมาะสม

?ในเรื่องของความหนา คำถามถัดมาที่เราพบเจอ คือ 

“รอบที่แล้ว ผมซื้อพลาสติกหนา 150 ไมครอนมากจากเจ้าหนึ่ง….มันขาด รอบนี้ผมควรซื้อ 200 ไมครอนเลยไหมครับ?”?

คำตอบแบบจริงจัง แบบไม่อยากขายของเลย คือ “ผมก็ไม่รู้ครับ?” เนื่องจากผู้จำหน่ายพลาสติกบ้านเราให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านราคามาก โดยแทบไม่สนใจรายละเอียดด้านคุณสมบัติ และในความเป็นจริงเวลาที่ซื้อ-ขายกัน ตัวเราเองก็ไม่ค่อยสนใจ จึงเป็นเหตุให้คำถามนี้ตอบยากมากๆ

?ผลลัพท์ของการไม่สนใจรายละเอียด คือ เราไม่รู้เลยว่าพลาสติกที่เราได้มานั้นมันดีหรือมันแย่ รู้แค่เราซื้อมาราคาไม่แพง(มั้ง?) เช่น

พลาสติกโรงเรือนเจ้า A ราคา 3,100 บาท รับแรงฉีกขาดได้ 300 Kgf/m.

พลาสติกโรงเรือนเจ้า B ราคา 3,000 บาท รับแรงฉีกขาดได้ 270 Kgf/m.

โดยพลาสติกโรงเรือนทั้ง 2 เจ้า มีความหนาเท่ากัน

ถ้าเราไม่มองปัจจัยอื่นๆเลย พลาสติกเจ้า B ย่อมดีกว่า แต่เมื่อมองปัจจัยอื่นๆ เราจะเริ่มมองว่า A ดีกว่า 

ลูกค้าซื้อพลาสติก B ที่ความหนา 100 ไมครอน มีพายุเข้า พลาสติกขาด แต่ถ้าลูกค้าซื้อพลาสติก A พายุลูกเดียวกัน อาจจะไม่ขาด เพราะสามารถรับแรงได้มากกว่า

คำตอบ ก็คือ เราควรขอเอกสารรับรองต่างๆมาเปรียบเทียบ เพื่อให้การซื้อของเราคุ้มค่าที่สุด

Categories
รายละเอียดสินค้า

ตัดหญ้าครั้งสุดท้ายที่ฝนนี้

ฝนเริ่มตก หญ้าเริ่มขึ้น สัตว์ร้ายก็เริ่มมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ๆไม่มีการเคลื่อนไหว พื้นที่รกร้าง ก็ยิ่งมีความเสี่ยงอันตราย ?

พลาสติกคลุมดำ กำจัดวัชพืช จะช่วยให้ปัญหานี้หายไปเลย(ยาวๆ 3-10 ปี;ตามรุ่น) ไม่ต้องคอยมาเสียค่าตัดหญ้าทุกๆปี ปีละหลายๆครั้ง
——————————————
?ให้หญ้า – เป็นปัญหาของเรา?
——————————————
ใช้งานง่าย เพื่อคลุมไว้ ปัญหาเรื่องหญ้าก็หมดไป

รุ่น ขนาด ความกว้าง ความยาว
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/2WocF2p

สั่งซื้อ online : http://bit.ly/30tlpp3

บ้าน #สวน #พื้นที่รกร้าง หรือ #แปลงเกษตร ที่ไม่มีการดูแล เมื่อผ่านเวลาไปนานวันเข้า ก็มีหญ้า หรือต้นไม้ขึ้นตามธรรมชาติ
แน่นอนเมื่อมีความร่มรื่น ก็ชวนให้มาอยู่อาศัย น่าเสียดายที่ผู้อยู่อาศัยชั่วคราวนี้ไม่เป็นที่ต้องการของที่รอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นสุนัขจร แมวจร จนไปถึงสัตว์อันตรายอย่าง ? #งู ? สร้างความลำบากให้แก่ผู้เป็นจำของที่ดิน
ตัดหญ้าครั้งนี้ เอาให้สุด ปรับพื้นที่ให้เรียบ 

เก็บงานวัชพืชที่ยังเหลือให้เรียบร้อย
หลังจากปรับพื้นที่เสร็จแล้ว เริ่มการปูผ้า ไม่ยาก แค่ปูแล้วตอกหมุด ผ้าก็จะอยู่แบบนั้นไปอีกนาน
ตัวผ้าเกิดจากการนำเส้นเทปมาทอเป็นผืน เส้นเทปแต่ละเส้นมีความแข็งแรงทนทาน แม้จะตัดไปบางส่วนเพื่อรับหน้างาน เส้นเทปที่เหลือก็ยังคงรูป และสามารถรับแรงเหยียบได้เป็นอย่างดี
บ้านไม่รก ดูสวยงาม ช่วยประหยัดค่าหญ้าปี ไม่สามารถความลำบากให้กับเจ้าของที่ ??

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/2WocF2p

สนใจสั่งซื้อ online : http://bit.ly/30tlpp3

สอบถามเพิ่มเติม @ ติดต่อเราได้เลย
034-410-767 (6 คู่สาย)
Line ID : @kongsawat.com หรือผ่าน http://bit.ly/35I2jPe