กัญชาสามารถเจริญเติบโตได้ทั้งในอลาสก้าไปจนถึงปลายสุดของบราซิล จากเวียดนามไปจนถึงแคลิฟอร์เนีย จากอากาศที่แห้งแร้งอย่างอัฟกานิสถาน ไปถึงเขตร้อนชื้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จึงเกิดเป็นสายพันธุ์ที่หลากหลายที่สามารถปรับตัวเข้ากับการเพาะปลูกตามธรรมชาติทั่วโลก
ในเมื่อกัญชาสามารถปลูกได้ง่ายทั่วโลก แล้วทำไม เราถึงยังต้องการโรงเรือนเพื่อปลูกกัญชาละ
การปลูกกลางแจ้ง
เมื่อได้รับแสง น้ำ และสามารถอาหารที่เพียงพอสามารถโตได้ถึง 6 เมตรในการปลูกกลางแจ้ง สามารถให้ผลผลิตถึง 2.3 กิโลกรัมต่อต้น ต่อการเก็บเกี่ยวปีละครั้ง(ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในพื้นที่)
ข้อด้อยของการปลูกกลางแจ้งเป็นเรื่องของแมลง เชื้อรา ศัตรูพืช ที่ควบคุมได้ยาก และสำคัญมาก คือ การควบคุมการผสมเกสร ที่ส่งผลโดยตรงต่อปริมาณผลผลิตที่ได้ ทั้งตัวดอกและปริมาณของน้ำมัน
ผลผลิตที่ได้อาจมีการเจือปนของเชื้อรา เชื้อโรคต่างๆ ที่มาจากแมลงและอื่นๆ ตามสภาพอากาศ
การปลูกแบบในร่ม
เป็นที่นิยมปลูกในพื้นที่เล็กๆ ของตนเองที่ไม่ต้องการให้ใครรู้(สมัยนั้น) หากผู้ปลูกมีความชำนาญเพียงพอจะสามารถเก็บผลผลิตได้ถึง 2-3 รอบต่อปี จุดเด่นของการปลูกกัญชง/กัญชาในร่ม คือ สามารถปกป้องดอกกัญชาและขนที่มีอยู่เรซินได้
ข้อด้อยจะเป็นเรื่องของต้นทุนที่สูง และแสงที่ไม่ครบทุกสเปกตรัมมีผลจำกัดจำนวนสารประกอบทางเคมีที่พืชผลิตได้
การปลูกในโรงเรือนเรือน หรือการปลูกแบบควบคุมสภาพแวดล้อมในเรือน
เป็นทางเลือกที่ดีเพื่อให้ได้ผลผลิตสำหรับใช้ในการแพทย์ ระหว่างการปลูกกลางแจ้งกับการปลูกแแบบในร่ม การปลูกภายใต้การควบคลุมสภาพอากาศและได้แสงที่เพียงพอ โดยผู้เพาะปลูกที่มีความชำนาญ ทำให้สามารถมีผลผลิตได้ถึง 3-4 รอบต่อปี
ข้อด้อยจะเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ ต้องควบคุมอุณหภูมิในสภาพอากาศร้อน และควบคุมศัตรูพืชเป็นอย่างดี และแม้จะเป็นการปลูกกึ่งกลางแจ้งแล้ว เพื่อให้สามารถเก็บผลผลิตได้หลายรอบยังต้องการเสริมระบบให้แสงสว่างสำหรับบางช่วงเวลาของปี
โรงเรือนที่ปลูกในบ้านเราควรมีลักษณะอย่างไร
เพื่อให้การควบคุมสภาพอากาศเหมาะสม โรงเรือนที่เหมาะสมจะเป็นโรงเรือนระบบปิด ซึ่งระบบปิดแบบ EVAP มีความเหมาะสมที่สุด เพราะสามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นได้ดีกว่าแบบอื่นๆ
นอกจากเรื่องของสภาพอากาศแล้ว การวิจัยต่างๆ ระบุไปในทางเดียวกันว่า ดอกกัญชาเพศเมียจะให้ปริมาณผลิตที่ดี เราจึงต้องการต้นเพศเมียมากกว่าเพศผู้ การใช้โรงเรือนระบบปิดจะช่วยป้องกันละอองเกสรจากบริเวณอื่นเล็ดรอดเข้ามาผสมพันธุ์ในพื้นที่ปลูกของเราด้วยเช่นกัน
หมายเหตุ โรงเรือน EVAP ไม่สามารถกันแมลง และโรคพืชได้ 100% ขึ้นอยู่กับการดูแล ทั้งอุปกรณ์โรงเรือน บริเวณโดยรอบ รวมถึงวินัยของผู้ปฏิบัติงานที่เข้า-ออกโรงเรือนเป็นประจำ
โรงเรือนจำเป็นต้องมีความสูง 3-6 เมตรไหม?
คำตอบคือ ไม่จำเป็น เราสามารถใช้ความสูงแค่เพียงพอต่อการระบายหรือควบคุมสภาพอากาศภายในได้เลย
ช่วงแรกๆ ที่ทางภาครัฐอนุญาตให้มีการปลูกเพื่อการแพทย์ได้ เรามีความเข้าใจเดิมที่เราควรสร้างโรงเรือนให้มีความสูง 3-6 เมตร เพื่อให้ตัวต้นสามารถเติบโตได้เต็มที่และเก็บเกี่ยวในช่วงดังกล่าว
แต่ความเป็นจริงในปัจจุบันเรามีเทคนิคการปลูกที่สามารถเร่งให้ต้นติดดอกในจำนวนที่มากแม้ว่าตัวต้นจะอายุไม่นานก็ตาม ทำให้ความสูงที่จำเป็นของโรงเรือนถูกลดลงเหลือเพียงขนาดความสูงทั่วไปที่ 2.0-3.0 เมตรเท่านั้น(ความสูงวัดจากพื้นถึงคาน)
ต้องเป็นโรงเรือน EVAP เท่านั้นถึงปลูกได้รึเปล่า? ใช้โรงเรือนมุ้งปกติปลูกได้ไหม?
ปลูกได้ แต่จะเป็นโรงเรือนกึ่งปิดที่ใช้พลาสติกคลุมหลังคา และใช้มุ้งกันแมลงเพื่อช่วยในการระบายอากาศ หรือโรงเรือนเปิดที่มีเพียงพลาสติกโรงเรือนคลุมหลังคา
โรงเรือนเหล่านี้มีโจทย์ที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม เช่น
แมลงศัตรูพืชที่มากกว่าโรงเรือน EVAP
ความชื้นที่ควบคุมได้ยากกว่าโรงเรือน EVAP
โรคพืชที่ควบคุมได้ยากกว่าโรงเรือน EVAP
อุณหภูมิที่มีความไม่มีแน่นอนมากกว่าโรงเรือน EVAP
หากผู้ปลูกได้พิจารณาปัจจัยเหล่านี้และวางแนวทางการแก้ปัญหาไว้แล้ว ก็สามารถใช้โรงเรือนแบบอื่นๆ ปลูกได้เช่นเดียวกับโรงเรือน EVAP
ควรมีระบบไฟสำรอง กรณีชั่วโมงแสงไม่พอ
สำหรับพันธุ์การติดดอกนั้นสัมพันธ์กับจำนวนชั่วโมงแสงที่ได้รับต่อวัน ระบบแสงชดเชยแสงธรรมชาติจึงมีความจำเป็น
เราอาจมีความเข้าใจว่าแสงประเทศของเรามีปริมาณมากล้น แต่ในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ในรอบปีของเรามีบางฤดูกาล(ฤดูฝนหรือฤดูหนาว)ที่แม้จะมีแสง แต่ความปริมาณของแสงยังไม่เพียงพอต่อต้นกัญชา ส่งผลให้ต้นเกิดความเครียดจนเร่งให้มีการสร้างช่อดอก และดอกตามลำดับ หากเหตุการณ์ดังกล่าวอยู่ในช่วงเวลาทีเหมาะสมย่อมถือเป็นผลดีต่อการเก็บเกี่ยว แต่หากเป็นช่วงที่ต้นยังเล็กเกินไปจะทำให้ผลผลิตไม่ได้ปริมาณตามที่ต้องการและต้องเสียต้นดังกล่าวไปเลย
แต่ถ้าสายพันธุ์ที่ปลูกเป็นสายพันธุ์ที่ไม่มีความสัมพันธ์ต่อชั่วโมงรับแสง ระบบแสงชดเชยแสงธรรมชาติอาจเป็นการสิ้นเปลื้องโดยเปล่าประโยชน์เช่นกัน
เราทราบกันดีว่าตัวต้นมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปขึ้นกับแสงที่ได้รับ พลาสติกหลังคาโรงเรือนจึงมีผลอย่างมากต่อการเติบโตของต้น เพราะ เป็นวัสดุชิ้นแรกที่เจอแสง และสามารถเปลี่ยนคุณสมบัติต่างๆ ของแสงได้ก่อนถึงตัวต้น ปัจจุบันเรามีพลาสติกโรงเรือนที่ออกแบบให้มีคุณสมบัติช่วยลดภาระในการดูแลตัวต้นลง
เราปลูกเพื่อน้ำมันบริเวณดอก พลาสติกที่มีคุณสมบัติคัดเลือกช่วงของแสงที่ผ่าน ทำให้พฤติกรรมต้นไม้มีการติดดอกมากกว่าเมื่อเทียบกับพลาสติกโรงเรือนทั่วไป ช่วยลดภาระงานของผู้ปลูกที่ต้องจัดแต่งปัจจัยต่างๆ ให้เหมาะสมกับการติดดอก
ตัวต้นที่ไม่ชอบอากาศที่ร้อนมากๆ (45++) พลาสติกที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสงอินฟาเรดออก ทำให้อากาศภายในโรงเรือนมีอุณหภูมิที่ลดลงเมื่อเทียบกับพลาสติกโรงเรือนทั่วไป ช่วยลดภาระของการควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือน
ขอบคุณผู้สนใจทุกท่านที่อ่านกันมาจนจบ สิ่งที่เราคิดไว้ตอนเริ่มเขียนบทความนี้ คือ “ควรรู้ก่อนซื้อ ดีกว่าซื้อแล้วรู้ที่หลัง”
เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความเล็กๆ ของเราจะช่วยต่อเติม และช่วยเหลือให้เกษตรกรที่ผู้ใช้งานลดภาระค่าอุปกรณ์ลง และสามารถแข่งขันได้
หากมีส่วนใดของบทความมีความสับสนไม่ชัดเจน สามารถคอมเม้นสอบถามเข้ามาได้เลย ทางเรามีทีมงานคอยให้ข้อมูล
ท่านใดที่ต้องการสร้างโรงเรือน สามารถสอบถามเพื่อคำนวณราคาวัสดุเบื้องต้นกับเราได้เลย
ท่านที่มีโรงเรือนอยู่แล้วต้องการสั่งซื้อสามารถสั่งได้ผ่านระบบออนไลน์
http://bit.ly/31kWiVQ
หากท่านต้องการสั่งซื้อแบบจำนวนมาก เป็นร้านค้า หรือต้องการนำสินค้าไปจำหน่ายต่อ
กรุณาติดต่อฝ่ายขาย : 034-410-767 (6 คู่สาย)
Line ID : @kongsawat.com หรือผ่าน http://bit.ly/35I2jPe
One reply on “โรงเรือนสำหรับสายเขียว”
ต้นทุนโรงเรือนขนาด 8 * 18 เมตรควรจะมีราคาเท่าไหร่ครับ