Categories
บทความ

นวัตรกรรมการปลูกพืชกลับหัว

ใครที่ได้อ่านข่าวไทยรัฐ คอลัมภ์เกษตร โดยคุณชัยรัตน์ ส้มฉุน เมื่อประมาณปลายๆ เดือนมกราคม 255 คงจะคุ้นตากันดีอยู่เกี่ยวกับ การปลูกพืชกลับหัว แต่พืชกลับหัว ไม่ได้เป็นของใหม่ เพราะก่อนหน้านั้นก็มักจะดังอยู่แล้วในกระแสเกษตรทฤษฎีใหม่แปลกแหวกแนว โดย ปราชญ์ชาวบ้าน หลายๆ ท่านก็ได้ทดลองเพาะปลูกเอง ผลก็เป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่งใน พืชกลับหัว หลายๆ สายพันธุ์ โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นแค่ กล้วย ที่สามารถปลูกกลับหัวได้
พืชกลับหัว นวัตรกรรมใหม่พืช

-การปลูกพืชกลับหัว

โดยนักวิทยาศาสตร์จากองการบริหารการบินและอวกาศ หรือที่รู้จักกันดีในนามนาซ่า ของอเมริกานั้น ได้ทำการปลูกต้นมอสในอวกาศ ซึ่งเป็นสภาวะที่ไร้น้ำหนักโดยสิ้นเชิง และได้ตั้งสมมติฐานเอาไว้ว่า ต้นมอสน่าจะมีการเจริญเติบโตได้ดีแบบสุ่ม แต่หลังจากผลการทดลองเสร็จสิ้นจึงเผยให้เห็นว่า ต้นมอสก็ยังมีการเจริญเติบโตในลักษณะเกลียวแบบก้นหอย อีกทั้งยังพบว่าอวัยวะต่างๆ ภายในเซลล์ รวมถึง สตาโทลิท Statolith ซึ่งเป็นพลาสติกชิดหนึ่งที่มีการเก็บสะสมแป้งไว้ ทำให้สามารถรับรู้ทิศทางของแรงโน้มถ่วงได้ โดยมีการจับกลุ่มกันในรูปแบบเฉพาะ ซึ่งผลการทดลองนี้เองได้บ่งชี้ว่า กลไกการทำงานและการตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงในพืช มีความซับซ้อนมากกว่าที่จะคาดการณ์ได้

-การปลูกพืชกลับหัว

ด้วยเหตุนี้เอง ทาง ม.แม่โจ้ เชียงใหม่ โดยภาควิชาพืชสวน สาชาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร โดย ดร.สิริวัฒน์ สาครวาสี ได้ทดลองปลูกพืชกลับหัว โดยเริ่มจากการนำวัสดุปลูก เช่น ขุยมะพร้าวหรือดินปลูก ใส่ลงในกระถางให้เต็มแล้วนำแผ่นกระเบื้องสี่เหลี่ยมมาปิดด้านบนของกระถางเอาไว้ แล้วใช้นิ้วหนีบกระเบื้องไว้กับกระถางเพื่อป้องกันวัสดุปลูกร่วงหล่น แล้วคว่ำกระถางเพื่อให้ก้นกระถางหันขึ้นด้านบน จากนั้นนำต้นกล้าพืชที่ใช้เป็นพืชทดลองปลูกกลับหัว จำพวก พริก กระเพรา โหระพา มะเขือเทศ และพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ อื่นๆ ลงปลูกในรูก้นกระถาง ก่อนจะรดน้ำให้ปุ๋ยตามปกติ ส่วนในกรณีที่ปลูกในขุยมะพร้าว ก็รดด้วยสารละลายปุ๋ย รอจนต้นสูงพอ อย่างน้อยประมาณ 1 ฟุต แล้วทำการพลิกกระถางกลับหัวเพื่อให้ต้นพืชหัวกลับ ด้วยการเจาะรูร้อยลวดแขวนไว้ ในพื้นที่ที่เตรียมไว้ขนาด 8×8 เมตร ประมาณ 40 กระถางทดลอง และด้านบนกระถางนั้นก็ยังทดลองปลูกผักขนาดเล็กอีกหลากหลายชนิด เช่น ผักสลัด คะน้า และอื่นๆ ได้ดีอีกด้วย โดยทำการสังเกตุการเจริญเติบโตของพืชกลับหัวอย่างต่อเนื่อง

จากการทดลองเผยให้เห็นว่า การตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของพืชนั้นมีกลไกรับรู้ และมีอิทธิพลสามารถกำหนดทิศทางการเจริญเติบโตของพืชได้ โดยลำต้นจะมีการเจริญเติบโตในทิศทางตรงข้ามกับแรงโน้มถ่วงได้ และพยายามหันยอดสู่ดวงอาทิตย์ ทำให้เปรียบเทียบได้กับต้นพืชที่มีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ หรือมีการหักล้มราบกับพื้น ก็สามารถตั้งตัวและงอตัวขึ้นมาใหม่ได้อีกครั้ง ทั้งยังให้ผลผลิตดีและมากกว่าปกติ

-การปลูกพืชกลับหัว

Statolith หรือ สตาโทลิท ที่อยู่ในเซลล์เอนโดเดอมิส ของลำต้นจะมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งการวางตัวของเซลล์ และจะชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้การกระจายตัวของฮอร์โมนออกซินในลำต้นเป็นไปอย่างเร็วและมากกว่าปกติ มีการสะสมของออกซินมากกว่าปกติหากเปรีบเทียบกับการปลูกแบบธรรมดา เซลล์ด้านล่างจึงมีการยืดตัวมากกว่าเซลล์ด้านบน ลำต้นจึงเจริญเติบโตได้ในทิศางตรงกันข้ามกับแรงโน้มถ่วงได้อีกครั้ง

ข้อดีของ การปลูกพืชกลับหัวนี้ ในการทดลองนั้น ช่วยให้ประหยัดพื้นที่ในการปลูก และพบว่า น้ำและธาตุอาหารที่ให้ จะไหลไปเลี้ยงส่วนยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าปกติ ทำให้สามารถบรรเทาปัญหาการหยุดชะงักในการลำเลียงสารอาหารและน้ำจากรากสู่ยอด นอกจากนี้ยังพบว่า การปลูกพืชแบบกลับหัวนี้ยังช่วยลดปัญหาเรื่องวัชพืชและการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้ดีอีกด้วย เพราะส่วนยอดจะแข็งแรงและโตเร็ว ทำให้ได้ผลผลิตเร็วก่อนที่โรคและแมลงจะเข้าทำลาย

สนใจลองสอบถามและเข้าชมโครงการจริงได้ที่ ม.แม่โจ้ โดยติดต่อ ดร.สิริวัฒน์ 053-873-380, 086-195-7423 ในวันและเวลาราชการ

อ้างอิง หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *