เมื่อมาลองนึกถึงสุดยอดเครื่องมืออเนกประสงค์ของชาวเกษตรกรแล้วคงหนีไม่พ้น ไม้ไผ่ มันอเนกประสงค์ชนิดที่ว่านำมาทำได้ตั้งแต่ค้างไม้เลื้อยยันเสาโรงเรือนกันเลย แต่พอมานึกถึงอายุการใช้งานของมันแล้วก็แสนสั้น บางครั้งเจอลมฝนเข้าไปเพียงฤดูกาลเดียวก็พากันกรอบจนเป็นปุ๋ยแทน แถมบางทีไม่วายกลายรังของแมลงที่คอยเข้ามากระหน่ำซ้ำให้พืชผักของเราให้ปวดหัวอีก ด้วยเหตุนี้ประเทศญี่ปุ่นจึงได้มีการพัฒนาอุปกรณ์วิเศษขึ้นโดยเลียนแบบความยืดหยุ่นและสุดอเนกประสงค์ของไม้ไผ่จนเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ไม้ค้างเหล็กเคลือบพลาสติก หรือบางคนก็จะเรียกว่า ไม้ไผ่เทียม
ข้อดีของไม้ค้างพลาสติกหรือไม้ไผ่เทียมคือ ความตรงที่แน่นอน น้ำหนักที่เบา และ ขนาดที่เล็ก นอกจากนี้ยังแข็งแรงทนนาน แถมยังมีวิธีการใช้งานที่หลากหลายเช่น
ใช้ทำไม้ค้ำไม้เลื้อย หรือ ไม้ค้างแตง
ขั้นตอนการทำไม้ค้างแตงจะใช้วิธีเดียวกันกับที่เราใช้ไม้ไผ่มาทำค้าง คือ ปักท่อนค้างดินเป็นแนวแทยงให้ปลายเข้าหากัน โดยที่ปลายของไม้ค้างพลาสติกจะมีด้านแหลมอยู่ เพียงกดด้านแหลมลงดินแท่งเสาไม้ค้ำก็จมลงดินได้อย่างง่ายดาย ส่วนตรงด้านหัวที่ไขว้กันไว้เพียงนำไม้ค้างพลาสติกอีกด้ามมาวางทับแล้วมัดให้แน่นเพื่อความแข็งแรงก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย เพียงเท่านี้เราก็จะได้ไม้ค้างแตงพร้อมใช้งานได้ทันที
นอกจากนี้ไม้ค้างพลาสติกชนิดนี้ยังมีปุ่มพิเศษรอบ ๆ ตัววัสดุ ปุ่มเหล่านี้มีหน้าที่ช่วยให้เคลือของผักยึดจับและไม่หลุดตกลงมาได้ง่าย ๆ ต่างจากไม้ไผ่จริงที่เป็นปล้องกลมลื่น ๆ ทำให้เครือผักหลุดตกลงมาได้
ใช้ทำไม้ค้ำผัก
เนื่องจากไม้ไผ่เทียมหรือไม้ค้างเหล็กเคลือบพลาสติกมีความยาวให้เลือกหลากหลาย เราจึงสามารถเลือกรุ่นที่มีความยาวพอเหมาะมาใช้เป็นไม้ค้ำผักบนแปลงเพื่อช่วยพยุงผักของเราไม่ให้ล้มได้อีกด้วย
ใช้ทำเป็นไม้โครงทำอุโมงค์ผัก
นอกจากรุ่นแท่งตรงแล้ว เรายังมีรุ่นโค้งสำเร็จที่นำมาปักตามร่องแปลงเสร็จแล้วคลุมพลาสติกไว้ด้านบนเท่านั้นเราก็จะได้อุโมงค์แปลงผักที่ทำได้ง่าย ๆ และยังทนทานใช้ได้นานอีกด้วย