Categories
คำแนะนำสินค้า ประฃาสัมพันธ์ ผู้ช่วยมือใหม่

ไม้ไผ่เทียม ไอเท็มลับของเกษตรชาวญี่ปุ่น

เมื่อมาลองนึกถึงสุดยอดเครื่องมืออเนกประสงค์ของชาวเกษตรกรแล้วคงหนีไม่พ้น ไม้ไผ่ มันอเนกประสงค์ชนิดที่ว่านำมาทำได้ตั้งแต่ค้างไม้เลื้อยยันเสาโรงเรือนกันเลย แต่พอมานึกถึงอายุการใช้งานของมันแล้วก็แสนสั้น บางครั้งเจอลมฝนเข้าไปเพียงฤดูกาลเดียวก็พากันกรอบจนเป็นปุ๋ยแทน แถมบางทีไม่วายกลายรังของแมลงที่คอยเข้ามากระหน่ำซ้ำให้พืชผักของเราให้ปวดหัวอีก ด้วยเหตุนี้ประเทศญี่ปุ่นจึงได้มีการพัฒนาอุปกรณ์วิเศษขึ้นโดยเลียนแบบความยืดหยุ่นและสุดอเนกประสงค์ของไม้ไผ่จนเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ไม้ค้างเหล็กเคลือบพลาสติก หรือบางคนก็จะเรียกว่า ไม้ไผ่เทียม

ข้อดีของไม้ค้างพลาสติกหรือไม้ไผ่เทียมคือ ความตรงที่แน่นอน น้ำหนักที่เบา และ ขนาดที่เล็ก นอกจากนี้ยังแข็งแรงทนนาน แถมยังมีวิธีการใช้งานที่หลากหลายเช่น

ใช้ทำไม้ค้ำไม้เลื้อย หรือ ไม้ค้างแตง

ขั้นตอนการทำไม้ค้างแตงจะใช้วิธีเดียวกันกับที่เราใช้ไม้ไผ่มาทำค้าง คือ ปักท่อนค้างดินเป็นแนวแทยงให้ปลายเข้าหากัน โดยที่ปลายของไม้ค้างพลาสติกจะมีด้านแหลมอยู่ เพียงกดด้านแหลมลงดินแท่งเสาไม้ค้ำก็จมลงดินได้อย่างง่ายดาย ส่วนตรงด้านหัวที่ไขว้กันไว้เพียงนำไม้ค้างพลาสติกอีกด้ามมาวางทับแล้วมัดให้แน่นเพื่อความแข็งแรงก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย เพียงเท่านี้เราก็จะได้ไม้ค้างแตงพร้อมใช้งานได้ทันที

นอกจากนี้ไม้ค้างพลาสติกชนิดนี้ยังมีปุ่มพิเศษรอบ ๆ ตัววัสดุ ปุ่มเหล่านี้มีหน้าที่ช่วยให้เคลือของผักยึดจับและไม่หลุดตกลงมาได้ง่าย ๆ ต่างจากไม้ไผ่จริงที่เป็นปล้องกลมลื่น ๆ ทำให้เครือผักหลุดตกลงมาได้

ใช้ทำไม้ค้ำผัก

เนื่องจากไม้ไผ่เทียมหรือไม้ค้างเหล็กเคลือบพลาสติกมีความยาวให้เลือกหลากหลาย เราจึงสามารถเลือกรุ่นที่มีความยาวพอเหมาะมาใช้เป็นไม้ค้ำผักบนแปลงเพื่อช่วยพยุงผักของเราไม่ให้ล้มได้อีกด้วย

ใช้ทำเป็นไม้โครงทำอุโมงค์ผัก

นอกจากรุ่นแท่งตรงแล้ว เรายังมีรุ่นโค้งสำเร็จที่นำมาปักตามร่องแปลงเสร็จแล้วคลุมพลาสติกไว้ด้านบนเท่านั้นเราก็จะได้อุโมงค์แปลงผักที่ทำได้ง่าย ๆ และยังทนทานใช้ได้นานอีกด้วย

Categories
บทความ ประฃาสัมพันธ์

แนะลดต้นทุนการผลิตข้าว… ด้วยหลัก 3 ต้องทำ 3 ต้องลด – ดินดีสมเป็นนาสวน

แม้ว่ารัฐบาลจะยังคงโครงการรับจำนำข้าวของเกษตรกร แต่มีการปรับลดเงื่อนไขการรับจำนำลงจากเดิมที่เคยรับจำนำทั้งข้าวนาปีและนาปรัง ไม่เกิน 500,000 บาทต่อครัวเรือน โดยปรับเป็นข้าวเปลือกนาปี ฤดูกาลผลิตปี 56/57 รับจำนำที่ 15,000 บาทต่อตัน ลดวงเงินรับจำนำเหลือ ไม่เกิน 350,000 บาทต่อครัวเรือน ส่วนข้าวนาปรัง ปี 57 รับจำนำที่ 13,000 บาทต่อตัน วงเงินไม่เกิน 300,000 บาท

..ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าเกษตรกรเองคงต้องปรับตัวเพื่อสร้างความอยู่รอดอย่างยั่งยืนมากกว่าการพึ่งพารัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว…

นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลจะยังคงไม่ยกเลิก จนกว่าราคาขายข้าวหรือโอกาสของชาวนาที่จะอยู่ได้จากการขายในระบบปกติดีขึ้น ตราบใดที่กลไกราคาตลาดไม่ปกติ รัฐต้องเข้าแทรกแซงราคาโดยการจำนำ แต่จะมีการปรับเงื่อนไขหรือวิธีการบ้าง เพื่อให้รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังและเกษตรกรอยู่ได้ทั้งสองฝ่าย

ทั้งนี้ ถ้ามีการปรับลดราคารับจำนำลงมา สิ่งที่เกษตรกรต้องทำคือลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้ได้รายได้คงเดิมหรือเพิ่มขึ้น ซึ่งเรื่องการลดต้นทุนการผลิต กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พยายามรณรงค์ทุกวิถีทาง กรมการข้าวก็เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ผลักดันเรื่องดังกล่าวมาตลอด เช่น การจัดงานรณรงค์ลดต้นทุนการผลิตข้าวหอมมะลิในทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถกระตุ้นให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงการลดต้นทุนการผลิตข้าวอย่างจริงจัง เพราะจากการจัดนิทรรศการของกรมการข้าวและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ทำให้ทราบว่าเกษตรกรตัวอย่างที่สามารถลดต้นทุนการผลิตข้าวได้หลายร้อยบาทต่อไร่ทำได้จริง

การดำเนินโครงการลดต้นทุนการผลิตข้าวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ที่มีพื้นที่ปลูกข้าวกว่า 2 ล้านไร่ ถ้าสามารถส่งเสริมให้เกษตรกรลดต้นทุนได้ประสบผลสำเร็จจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการขยายผลพื้นที่ปลูกข้าวในภาคอื่นต่อไป โดยเบื้องต้นตั้งเป้าฤดูกาลผลิตปี 56 หรือฤดูกาลหน้าจะเห็นตัวชี้วัด อย่างน้อยทำให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวทุ่งกุลาร้องไห้ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมดหรือคิดเป็น 25% จะต้องลดต้นทุนการผลิตข้าวได้

นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวเพิ่มเติมว่า เป้าหมายของการจัดงานรณรงค์ลดต้นทุนการผลิตข้าว เพื่อต้องการแสดงให้พี่น้องชาวนาเห็นว่าการลดต้นทุนเป็นการแก้ปัญหาให้ชาวนาอย่างยั่งยืน ซึ่งกรมการข้าวมี มาตรการลดต้นทุนการผลิตข้าว คือ 3 ต้องทำ 3 ต้องลด ประกอบด้วย 3 ต้องทำ คือ ต้องปลูกข้าวไม่เกินปีละ 2 ครั้ง ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี ต้องทำบัญชีฟาร์ม ส่วน 3 ต้องลด คือ ลดอัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก ลดการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างไม่ถูกต้อง ลดการใช้สารเคมี ถ้าทำได้ต้นทุนการผลิตจะลดลงไม่ต่ำกว่า 1,000 บาทต่อตัน พร้อมกันนี้ กรมฯ ได้จัดตั้ง หมู่บ้านชุมชนต้นแบบการลดต้นทุนการผลิตข้าวนำร่อง 26 หมู่บ้าน 26 จังหวัด กระจายอยู่ในภาคต่าง ๆ และมีแผนจะขยายผลในปี 2557 ภายใต้ชื่อ โครงการ 1 อำเภอ 1 หมู่บ้านลดต้นทุนการผลิตข้าว

..คาดว่าในปีแรกจะมีหมู่บ้านลดต้นทุนเพิ่มขึ้น 200 หมู่บ้านครอบคลุมทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวขาว ข้าวพื้นเมือง และจะกระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ ให้ครอบคลุมแหล่งปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพให้กับพี่น้องชาวนาต่อไป.

ที่มา :  เดลินิวส์

Categories
บทความ ประฃาสัมพันธ์

แนะลดต้นทุนการผลิตข้าว… ด้วยหลัก 3 ต้องทำ 3 ต้องลด – ดินดีสมเป็นนาสวน

แม้ว่ารัฐบาลจะยังคงโครงการรับจำนำข้าวของเกษตรกร แต่มีการปรับลดเงื่อนไขการรับจำนำลงจากเดิมที่เคยรับจำนำทั้งข้าวนาปีและนาปรัง ไม่เกิน 500,000 บาทต่อครัวเรือน โดยปรับเป็นข้าวเปลือกนาปี ฤดูกาลผลิตปี 56/57 รับจำนำที่ 15,000 บาทต่อตัน ลดวงเงินรับจำนำเหลือ ไม่เกิน 350,000 บาทต่อครัวเรือน ส่วนข้าวนาปรัง ปี 57 รับจำนำที่ 13,000 บาทต่อตัน วงเงินไม่เกิน 300,000 บาท

..ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าเกษตรกรเองคงต้องปรับตัวเพื่อสร้างความอยู่รอดอย่างยั่งยืนมากกว่าการพึ่งพารัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว…

นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลจะยังคงไม่ยกเลิก จนกว่าราคาขายข้าวหรือโอกาสของชาวนาที่จะอยู่ได้จากการขายในระบบปกติดีขึ้น ตราบใดที่กลไกราคาตลาดไม่ปกติ รัฐต้องเข้าแทรกแซงราคาโดยการจำนำ แต่จะมีการปรับเงื่อนไขหรือวิธีการบ้าง เพื่อให้รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังและเกษตรกรอยู่ได้ทั้งสองฝ่าย

ทั้งนี้ ถ้ามีการปรับลดราคารับจำนำลงมา สิ่งที่เกษตรกรต้องทำคือลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้ได้รายได้คงเดิมหรือเพิ่มขึ้น ซึ่งเรื่องการลดต้นทุนการผลิต กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พยายามรณรงค์ทุกวิถีทาง กรมการข้าวก็เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ผลักดันเรื่องดังกล่าวมาตลอด เช่น การจัดงานรณรงค์ลดต้นทุนการผลิตข้าวหอมมะลิในทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถกระตุ้นให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงการลดต้นทุนการผลิตข้าวอย่างจริงจัง เพราะจากการจัดนิทรรศการของกรมการข้าวและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ทำให้ทราบว่าเกษตรกรตัวอย่างที่สามารถลดต้นทุนการผลิตข้าวได้หลายร้อยบาทต่อไร่ทำได้จริง

การดำเนินโครงการลดต้นทุนการผลิตข้าวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ที่มีพื้นที่ปลูกข้าวกว่า 2 ล้านไร่ ถ้าสามารถส่งเสริมให้เกษตรกรลดต้นทุนได้ประสบผลสำเร็จจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการขยายผลพื้นที่ปลูกข้าวในภาคอื่นต่อไป โดยเบื้องต้นตั้งเป้าฤดูกาลผลิตปี 56 หรือฤดูกาลหน้าจะเห็นตัวชี้วัด อย่างน้อยทำให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวทุ่งกุลาร้องไห้ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมดหรือคิดเป็น 25% จะต้องลดต้นทุนการผลิตข้าวได้

นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวเพิ่มเติมว่า เป้าหมายของการจัดงานรณรงค์ลดต้นทุนการผลิตข้าว เพื่อต้องการแสดงให้พี่น้องชาวนาเห็นว่าการลดต้นทุนเป็นการแก้ปัญหาให้ชาวนาอย่างยั่งยืน ซึ่งกรมการข้าวมี มาตรการลดต้นทุนการผลิตข้าว คือ 3 ต้องทำ 3 ต้องลด ประกอบด้วย 3 ต้องทำ คือ ต้องปลูกข้าวไม่เกินปีละ 2 ครั้ง ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี ต้องทำบัญชีฟาร์ม ส่วน 3 ต้องลด คือ ลดอัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก ลดการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างไม่ถูกต้อง ลดการใช้สารเคมี ถ้าทำได้ต้นทุนการผลิตจะลดลงไม่ต่ำกว่า 1,000 บาทต่อตัน พร้อมกันนี้ กรมฯ ได้จัดตั้ง หมู่บ้านชุมชนต้นแบบการลดต้นทุนการผลิตข้าวนำร่อง 26 หมู่บ้าน 26 จังหวัด กระจายอยู่ในภาคต่าง ๆ และมีแผนจะขยายผลในปี 2557 ภายใต้ชื่อ โครงการ 1 อำเภอ 1 หมู่บ้านลดต้นทุนการผลิตข้าว

..คาดว่าในปีแรกจะมีหมู่บ้านลดต้นทุนเพิ่มขึ้น 200 หมู่บ้านครอบคลุมทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวขาว ข้าวพื้นเมือง และจะกระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ ให้ครอบคลุมแหล่งปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพให้กับพี่น้องชาวนาต่อไป.

ที่มา :  เดลินิวส์

Categories
ประฃาสัมพันธ์

โครงการฝึกอบรม ข้อกำหนดและการจัดทำเอกสาร GlobalGAP

โครงการจัดฝึกอบรมข้อกำหนดมาตรฐานและการจัดทำระบบเอกสาร GlobalGAP ณ ห้องประชุมใหญ่ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 29 – 30 พฤศจิกายน 2553

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดระบบมาตรฐาน ข้อกำหนดระบบการจัดการคุณภาพ และสามารถเขียนเอกสารระบบมาตรฐาน GlobalGAP ได้ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม เกษตรกร นักศึกษา ผู้ประกอบการ บริษัทส่งออกผลิตผลทางเกษตร จำนวนไม่เกิน 30 ราย

สิ่งที่ผู้เข้าร่วมการอบรมจะได้รับ

  1. เอกสารประกอบการจัดฝึกอบรม
  2. ประกาศนียบัตรสำเร็จการฝึกอบรม (หากผ่านการทดสอบ)
  3. ประกาศนียบัตรผ่านการฝึกอบรม (หากไม่ผ่านการทดสอบ)
  4. CD-ระบบมาตรฐาน GlobalGAP

ระยะเวลา วันที่ 29 และ 30 พฤศจิกายน 2553 จำนวน 2 วัน

สถานที่จัดอบรม ณ ห้องประชุมชั้นที่ 1 สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยากร เจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มช. ได้แก่ นายพิเชษฐ์ น้อยมณี นักวิชาการ นางสาวสุรีนาฏ กิจบุญชู นักวิจัย

ติดต่อสอบถามที่ คุณอังคณา ที่เบอร์ 053 944031 หรือ e-mail: aungkana.19@hotmail.com

ค่าลงทะเบียน

  • บุคคลทั่วไป   2,000 บาท/คน
  • เกษตรกรและนักศึกษา 1,000 บาท/คน

ที่มา : สถาบันวิขัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว