Categories
บทความ

ก้าวแรกของการทำสวนกล้วยไม้แบบเต็มตัว – ตอนที่ 2

บทความนี้เป็นตอนจบนะครับ สำหรับการทำสวนกล้ยไม้ ที่เขียนโดย คุณ kvissanu จากเว็บ http://www.212cafe.com ทางบริษัทเราหลังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านทั้งหลายนะครับ และเพื่อไม่ให้เสียเวลา Post นี้ผมเขียนสั่นๆแค่นี้ดีกว่า ขอเชิญอ่านบทความของคุณ kvissanu ได้เลยครับ

–  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –  –

สวัสดีครับทุกท่านก็จะเห็นว่าผมหายไปเกือบเป็นปีเลยนะครับเนื่องจากว่าผมได้สร้างบ้านแล้วโครงการที่จะทำโรงเรือนกล้วยไม้ก็เลยต้องหยุดไปโดยปริยาย เพราะยุ่งอยู่กับการสร้างบ้านเป็นของตัวเองครับ ในการสร้างบ้าน ท่านอาจจะคิดว่าสร้างบ้านไม่เห็นต้องหยุดทำสวนกล้วยไม้เลย แต่ว่าในการสร้างบ้านนั้นผมได้ทำการติดตั้งระบบไฟฟ้าในบ้านเอง ทำสีประตูหน้าต่างเอง ซือของเองบางอย่างเพื่อลดค่าใชจ่ายก็เลยไม่มีเวลาที่จะทำสวนต่อเลยครับ ตอนนี้บ้านผมเสร็จแล้วก็ได้ตามที่คิดไว้เลยครับก็เลยได้เริ่มเดินหน้าโครงการสวนกล้วยไม้ในฝันของผมต่อครับเดี๋ยวจะเอารูปความก้าวหน้ามาให้ดูนะครับ

pastedGraphic.pdf

เมื่อบ้านเสร็จผมก็ต้องรีบเดินหน้าทำโรงเรือนต่อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพราะต้องทำให้พร้อมก่อนย้ายบ้านครับ ก่อนหน้านี้ผมได้ทำการฝังแนวเสาเพื่อรับการดึงแสลนเป็นสามช่วงซึ่งระยะห่างแต่ละช่วงคือ 12 เมตรซึ่งห่างเกินไปครับผมจึงต้องตั้งเสาเพิ่มโดยใช้เสาอัดแรง 3×3 นิ้วแล้วต่อเหล็กด้านบนเจาะรูเพื่อร้อยสลิงโดยจะได้แนวเสารับแสลนทั้งหมด 5 ช่วงคือด้านหัวและท้ายใช้เหล็กขนาด1.5นิ้วเพื่อยึดแสลนและอีก3ช่วงที่เหลือผมใช้เหล็กยึดหัวเสาแล้วเจาะรูร้อยสลิงทั้งหมดครับไม่ใช้เหล็กเลยครับจากนั้นก็เริ่มขึงแสลนครับโดยรูปนี้ผมได้ทำขาตั้งเพื่อวางม้วนแสลนเพื่องายต่อการดึงไปฝั่งตรงข้ามครับ แล้วก็ใช้เชือกดึงปลายแสลนให้ไปอีกด้านหนึ่งครับ

pastedGraphic.pdf

จากนั้นก็ใช้เชือกผูกกับปลายแสลนแล้วโยนข้ามสลิงจนถึงฝังตรงข้ามแล้วก็ค่อยๆดึงไปจนถึงฝั่งตรงข้ามครับ โชคดีหน่อยที่วันที่ดึงลมไม่ค่อยแรงครับ เมื่อดึงจนถึงฝั่งตรงข้ามก็คลี่ผืนแสลนให้เป็นอย่างในภาพนะครับ

pastedGraphic.pdf

เมื่อดึงแสลนมาจนถึงฝั่งตรงข้ามแล้วผมได้ตัดเหล็ก1นิ้วเพื่อยึดแสลนที่จะทำการดึงโดยใช้คลิปล๊อกแสลนสำเร็จขนาด 1 นิ้วทำการล๊อกแสลนกับเหล็กที่จะทำการดึงจากนั้นก็ใช้เชือกผูกกับคานเหล็กด้านล่างเพื่อที่เวลาดึงเหล็กอีกฝั่งหนึ่งเหล็กฝั่งนี้จะได้ไม่ถูกดึงไปด้วยครับ เมื่อยึดแสลนฝั่งนี้แล้วก็ต้องไปทำแบบนี้กับอีกฝั่งเช่นกันครับ

pastedGraphic.pdf

รูปนี้เป็นการล๊อคแสลนกับเหล็กที่จะทำการดึงฝั่งตรงข้ามนะครับในรูปผมจะใช้ตัวรอกแย็คเป็นตัวช่วยดึงครับเพราะผมดึงคนเดียวมันดึงไม่ไหวแต่ถ้าใครไม่มีตัวรอกแย็คแล้วก็ใช้เชือกดึงสองเส้นเหมือนอย่างในรูปก็จะมีเชือก 2 เส้นไว้ดึงปรับให้แสลนทั้งสองข้างเท่ากันก็ได้นะครับ จริงๆแล้วผมจะดึงด้วยเชือก 2 เส้นนี้โดยไม่ต้องใช้รอกก็ได้ครับแต่ต้องดึงทีละข้างมันเสียเวลาก็เลยใช้รอกดึงทีเดียวมาสองข้างเลยแล้วค่อยดึงเชือกปรับความตึงแต่ละข้างอีกครั้งครับ เทคนิคในการดึงแสลนบางท่านอาจคิดว่าดึงให้ตึงที่สุดเท่าที่ทำได้แต่กลับไม่เป็นอย่างนั้นนะครับ ในการดึงควรให้ตึงพอประมาณโดยให้ขอบของแสลนเป็นเส้นตรงเป็นใช้ได้ครับเพราะหากดึงให้ตึงมากเกินไปเวลายึดขอบของแสลนเข้าด้วยกันมันจะไม่ค่อยเชื่อมกันสนิทครับ เดี่ยวผมจะถ่ายรูปว่าเมื่อตอนเชื่อมรอยต่อของแสลนแล้วจะเป็นอย่างไร ตอนนี้ผมได้ดึงแสลน 4 ผืนก่อนครับเพราะวันเสาร์นี้ต้องย้ายบ้านแล้วก็กล้วยไม้ทีบ้านเก่าด้วยกลัวทำไม่ทันครับ ตอนนี้ก็เหลือตึงแสลนด้านข้างกับติดตั้งสปริงเกอร์และปั้มน้ำก็สามารถใช้ได้ครับ เดี๋ยวจะถ่ายรูปมาให้ดูนะครับ

pastedGraphic.pdf

สวัสดีครับ ต้องขออภัยด้วยนะครับที่หายไปนานอีกแล้ว แต่ว่าที่หายไปนั้นก็มีความก้าวหน้ามาให้ดูกันนะครับ ตอนนี้ผมย้ายบ้านเรียบร้อยแล้วแต่ของในบ้านก็ต้องค่อยๆจัดไปเรื่อยๆครับ ส่วนกล้วยไม้ที่ผมย้ายมาจากบ้านเช่าก็เพิ่งจะกระจายขึ้นราวแขวนไปบางส่วน วันนี้ผมเลยถ่ายรูปมาให้ได้ชมความก้าวหน้าของพนิดาออร์คิดนะครับ รูปนี้ผมถ่ายระยะไกลให้ดูนะครับว่าพื้นที่ที่ผมเริ่มทำนั้นมีพื้นที่ขนาด12×30เมตร แต่ผมลงเสาเพื่อติดตั้งราวแขวนเพียงครึ่งเดียวก่อนยังไม่มีเวลาฝังเสาราวแขวนอีกฝั่งเพิ่มครับ แต่เสาซื้อมาเรียบร้อยแล้วก็คงต้องค่อยเป็นค่อยไปครับ

pastedGraphic.pdf

รูปนี้ผมเพิ่งยึดแสลนด้านข้างครับโดยผมทำการปักเสาขนาด 2 เมตรลึก 50ซม.แล้วเทปูนระยะห่างคือ 2 เมตร จากนั้นก็เจาะรูแล้วทำการใส่สลิงดึงให้ตึงเพื่อทำการยึดแสลนครับก็แข็งแรงดีครับ แล้วก็ประหยัดดีด้วยครับเพราะถ้าใช้เหล็กก็ตัองใช้เหล็ก 1 นิ้วราคาก็คงแพงมากเลยครับพอมาใช้ลวดสลิงประหยัดมากเลยครับตอนดึงลวดสลิงก็ต้องใช้ตัวแย๊กเช่นกันครับ

pastedGraphic.pdf

ส่วนแสลนที่ยึดด้านข้างผมกะว่าจะทำแบบรูปข้างบนแต่เสารั้วผมฝังระยะห่าง2.5เมตรและไม่ได้เทปูนครับก็กะว่าจะฝังเสาเพิ่มอีก 1 แถวแล้วทำแบบเดิมแต่ก็ยังไม่ได้ทำก็เลยต้องใช้วิธียึดกับสลิงที่สเตย์เสาโรงเรือนไปก่อนครับ การยึดแสลนแบบนี้จะยึดค่อยข้างยากครับเพราะต้องใช้มือดึงในแนวเฉียงครับ แต่ถ้าทำแบบรูปด้านบนจะดึงง่ายกว่าเพราะระยะแสลนสั้นกว่าจะใช้มือดึงให้ตึงเท่าไรก็ได้ครับ

pastedGraphic.pdf

ส่วนด้านนี้ยังไม่ได้ใช้แสลนบังด้านข้างครับคงทำไปทีละด้านก่อนครับ ตอนนี้ผมปิดด้านข้างไปแล้ว 2 ด้านเหลืออีก 2 ด้านค่อยๆทำไป ด้านนี้ผมกะว่าจะดึงแสลนเป็นแนวยาวตามโรงเรือนเลยคงไม่ฝังเสายึดแบบด้านแรกครับ เพราะว่าอนาคตต้องขยายโรงเรือนต่อไปอีกคงปิดแบบชั่วคราวไปก่อนครับ

pastedGraphic.pdf

อันนี้เป็นอีกฝั่งครับที่ยังไม่ได้ตั้งเสาราวแขวน เดี๋ยวคงตัองทำเพิ่มเพื่อรองรับไม้นิ้วที่รอขึ้นกระเช้าอีกหลายพันนิ้วครับ ตอนนี้มีเสาปูนและเหล็กคานราวแขวนแล้วเหลือแต่เวลาที่จะต้องค่อยๆทำต่อไปครับ

pastedGraphic.pdf

ส่วนราวแขวนผมใช้ไม้ไผ่เป็นราวแขวนไปก่อนครับเพราะไม่มีงบประมาณในการซื้อเหล็กราวแขวนครับ พอดีแถวบ้านมีสวนไผ่ที่เค้าเลี้ยงไว้ขายต้นผมก็เลยไปสั่งให้เค่าตัดขนาดพอที่จะมาทำราวแขวนลำประมาณ 1 นิ้ว เค้าคิดต้นละ 12บาทรวมค่าตัดด้วยผมก็เลยสั่งมา125ต้นครับใช้ไปแค่ครึ่งเดียวอยู่เลยครับที่เหลือจะได้ใช้ในพื้นที่รอฝังเสาอีกด้านพอดีเลย สำหรับไม้ไผ่นี้ผมก็ใช้เป็นราวแขวนมาตลอดอายุของไม้ไผ่จะอยู่ได้ประมาณ 3 ปีครับจึงต้องเปลี่ยน ก็กะว่าพอถึงเวลานั้นคงจะมีตังซื้อเหล็กมาใช้มั้ง แต่ถ้ายังไม่มีตังก็คงต้องใช้ไม้ไผ่ไปเรื่อยๆครับ ส่วนระบบน้ำผมได้เดินท่อเมน 2 นิ้วมาจากปั้มน้ำแล้วใช้ท่อแขนงขนาด3/4นิ้วพร้อมกับใส่บอลวาวด์และติดตั้งหัวมินิสปริงเกอร์ครับก็ใช้งานได้ดีครับ ส่วนระบบส่งน้ำนั้นผมจะเอามาให้ดูต่อไปนะครับ แต่แอบบอกก่อนว่าระบบน้ำของผมใช้ปั้มส่งน้ำระยะทางประมาณ 80 เมตรเลยนะครับ

pastedGraphic.pdf

รูปนี้เป็นกลุ่มไม้นิ้วและไม้ออกจากขวดที่ผมมี โดยกลุ่มไม้นิ้วผมก็ใช้ลวดแขวนตะแกรงที่เลี้ยงไม้นิ้วกับไม้ไผ่ครับที่ทำแบบนี้เพราะง่ายดีครับแต่ทำแบบชั่วคราวนะครับเดี๋ยวค่อยปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ

pastedGraphic.pdf

รูปนี้เป็นกลุ่มช้างบางส่วนที่เลี้ยงจากไม้ขวดครับ ยังมีที่ยังไม่ได้ขึ้นกระเช้าอีกเยอะเลยครับเดี๋ยวถ้าผมพร้อมที่จะจำหน่ายแล้วจะได้มาแบ่งให้เพื่อนๆชาวเวปบอร์ดนำไปเลี้ยงกันในราคาย่อมเยาเลยนะครับ ช้างที่ผมมีส่วนใหญ่ผมก็ได้ซื้อไม้ขวดมาจากคุณลุงสันทัด สวนนาถธิดาออร์คิดครับมีบางส่วนที่เมื่อต้นปีออกดอกมาแล้วบางต้นก็น่าเลี้ยงเก็บไว้เลยแหละครับ

pastedGraphic.pdf

วันนี้มาให้ดูระบบน้ำที่ผมทำขึ้นมาเพื่อใช้กับโรงเรือนกล้วยไม้ใหม่ของผมนะครับ ผมได้ใช้ถังซีเมนต์ขนาดความกว้าง 1 เมตรสูง50 ซม. ฝังลงไปในดิน 6 ถังเรียงต่อกันจำนวน 2 แถว โดยถังซ้ายมือผมจะใช้เก็บน้ำแล้วต่อระบบปั้มน้ำอัตฺโนมัติขึ้นมาเองเพื่อใช้ภายในบ้านโดยผ่านระบบกรองน้ำซึ่งในรูปนี้จะเห็นถังซีเมนต์สี่เหลี่ยมที่วางอยู่ระหว่างปั้มน้ำทั้งสองตัวครับแต่ยังไม่ได้ต่อท่อน้ำเข้า ส่วนถังขวามือใช้สำหรับรดน้ำกล้วยไม้ซึ่งอย่างที่บอกไปว่าระยะระหว่างโรงเรือนกล้วยไม้กับถังเก็บน้ำนี้มีระยะประมาณ 80 เมตรมีหัวมินิสปริงเกอร์42หัวแต่ละหัวจ่ายน้ำที่ 70ลิตร/ชั่วโมง ผมจึงเลือกใช้ปั้มน้ำขนาด 1แรงม้ามาใช้ซึ่งผมซื้อปั้มยี่ห้อALFA โดยอัตราการจ่ายน้ำอยู่ที่ 600ลิตร/นาที ขนาดท่อ 2 นิ้ว ในรูปคือปั้มด้านขวามือครับ ราคาตัวละประมาณ 3500 บาท

pastedGraphic.pdf

นี่เป็นระบบน้ำที่ใช้จ่ายภายในบ้านครับ เผื่อใครที่อยากจะนำไปทำใช้เองแทนการซื้อปั้มอัตโนมัติแบบสำเร็จรูปมาใช้นะครับ ก่อนทำระบบนี้ขึ้นมาผมก็ได้ศึกษาและสอบถามจากคนที่เคยใช้ปั้มน้ำอัตโนมัติแบบสำเร็จรูปเพื่อนำมาตัดสินใจ แล้วก็ได้ข้อสรุปตรงที่ว่าปั้มน้ำแบบที่มีขายในท้องตลาดเช่นของมิตซูบิชิ หรือยี่ห้ออื่นๆนั้นหากต้องการใช้แบบจ่ายน้ำ5-6ก๊อกพร้อมๆกันก็ตัองใช้ปั้นขนาด 250-300 วัตต์ ราคาจะอยู่ที่ตัวละ 6,000-7,000 บาท ซึ่งปั้มแบบนี้ถังแรงดันจะมีขนาดประมาณ 25 ลิตร สวิทช์แรงดันจะทำงานในช่วงแรงดันที่ 1.9-2.9 บาร์ ซึ่งเมื่อใช้งานจริงเวลาปั้มทำงานจนอัดแรงดันเต็มที่แล้วหากเปิดน้ำได้ไม่นานปั้มก็จะเริ่มทำงานแล้วการใช้งานจริงปั้มจะตัดต่อบ่อยจึงทำให้กินไฟครับ ผมก็เลยใช้วิธีการซื้ออุปกรณ์มาต่อเองโดยผมจะใช้1.ปั้มขนาด 0.5แรงม้า380 วัตต์ แบบมีใบพัดสองด้านราคา 1,800 บาท 2.ถังแรงดันสแตนเลสขนาด 50 ลิตร 3,500 บาท 3.สวิทช์แรงดันที่สามารถปรับแรงดันเองได้ผมตั้งให้ทำงานช่วงแรงดันต่อที่1.1บาร์และตัดที่ 3.2 บาร์ ตัวละ 400 บาท 4.ตัวแอร์ชาร์จเจอร์ 250 บาท 5.เกจวัดแรงดัน 150 บาท 6.เช็ควาวล์ทองเหลือง 200 บาท และข้อต่อท่อpvc รวมเบ็ดเสร็จแล้วหมดไปประมาณ7,000 บาทซึ่งราคาจะพอๆกับแบบสำเร็จ แต่เมื่อผมต่อใช้งานเสร็จแล้วเมื่อปั้มอัดแรงดันจนตัดแล้วพอเปิดน้ำได้นานครับกว่าปั้มจะทำงานซึ่งทำให้ประหยัดไฟกว่าครับ แต่การต่อแบบนี้ต้องต่อให้ดีนะครับเพราะตามข้อต่อต่างๆจะเกิดน้ำรั่วได้ง่ายครับหากต่อไม่ดี หากท่านใดต้องการต่อใช้เองก็ปรึกษารายละเอียดได้นะครับ

pastedGraphic.pdf

คราวนี้มาดูระบบปั้มน้ำที่ใช้กับโรงเรือนกล้วยไม้กันบ้างนะครับ อย่างที่บอกรายละเอียดของปั้มน้ำไปใน คห.ที่13 แล้วนั้นรูปนี้เป็นการต่อท่อจากถังเก็บน้ำครับ อ้อลืมบอกไปว่าถังซีเมนต์ที่ผมซื้อมาต่อจำนวน 6 ถ้งนั้นผมคำนวณแล้วได้ความจุน้ำอยู่ที่ประมาณ 2 พันกว่าลิตรครับ เหตุที่ต้องใช้ถังน้ำอยู่หน้าบ้านเนื่องจากว่าบ่อน้ำที่ผมมีอยู่ด้านหลังยังเก็บน้ำไม่อยู่และน้ำได้แห้งเกือบหมดเลยครับ จึงจำเป็นต้องใช้น้ำปะปาในหมู่บ้านรดกล้วยไม้ไปก่อนครับ จากปั้มน้ำไปยังตัวสวนกล้วยไม้ผมได้เดินท่อPE ขนาด 50 มม.ไปยังสวนกล้วยไม้แล้วใช้ข้อต่อแปลงทั้งด้านตัวปั้มและท่อจ่ายน้ำไปยังหัวสปริงเกอร์โดยแปลงจากท่อPVC 2 นิ้วเป็นท่อPE 50มม. จากรูปจะเห็นว่าท่อที่ออกจากปั้มน้ำนั้นผมจะต่ออุปกรณ์ช่วยให้การจ่ายน้ำมีความแรงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในรูปจะเห็นท่อPVC ขนาด 4 นิ้วแล้วอุดปลายไว้นะครับ ซึ่งเรียกระบบนี้ว่าระบบแอร์แวเดี๋ยวจะอธิบายเพิ่มนะครับว่ามันจะช่วยได้อย่างไร

pastedGraphic.pdf

รูปนี้เป็นระบบแอร์แวครับ หลายท่านอาจจะรู้จักระบบนี้แล้วนะครับ บางท่านที่ยังไม่รู้จักผมจะอธิบายนะครับว่าระบบนี้จริงๆแล้วมันก็ทำหน้าที่เหมือนเป็นถังแรงดันให้กับระบบจ่ายน้ำนั่นเองครับ จริงๆแล้วทำแค่อันเดียวก็ใช้ได้ครับ แต่ที่ผมค้นดูทางอินเตอร์เน็ตนั้นเค้าจะใช้สองตัวครับจึงจะได้ประสิทธิภาพดีที่สุด ในการทำนั้นผมจะใช้ข้อต่อสามทางเพื่อแยกออกมาจากท่อเมนจ่ายน้ำแล้วใช้ข้อต่อขยายให้ใช้กับท่อ 4 นิ้ว หรือถ้าจะใช้เท่ากับท่อเมนเลยก็ได้นะครับแต่ถ้าใช้ท่อยิ่งใหญ่ก็จะสามารถเก็บอากาศเพื่อใช้เพิ่มแรงดันได้เยอะขึ้นด้วยครับ พอดีผมมีท่อ 4 นิ้วเหลือจากการสร้างบ้านก็เลยใช้ขนาดนี้ครับ โดยการต่อท่อต้องมีความสูงของท่อที่ต่อวัดจาดท่อเมนคือยาว 1 เมตรทั้งสองท่อจากนั้นอุดปลายท่อด้านบนด้วยนะครับ ส่วนระยะห่างทั้งสองท่อคือ 30 ซม. ซึ่งความยาวของท่อและความห่างนั้นผมก็จำมาจากอินเตอร์เน็ตเช่นกันครับซึ่งเค้าทดลองแล้วระยะนี้ดีที่สุดครับ ตัวแอร์แวนี้จะช่วยให้การจ่ายน้ำระยะไกลๆนั้นมีประสิทธิภาพและช่วยยืดอายุการทำงานของปั้มด้วยครับ เมื่อต่อเสร็จแล้วผมลองเดินเครื่องปั้มน้ำไปยังสปริงเกอร์ปรากฏว่าใช้ได้ดีเลยทีเดียวครับ

pastedGraphic.pdf

ที่มา : ก้าวแรกของการทำสวนกล้วยไม้แบบเต็มตัว By kvissanu

5 replies on “ก้าวแรกของการทำสวนกล้วยไม้แบบเต็มตัว – ตอนที่ 2”

ผมก็กำลังจะทำสวนกล้วยไม้ยู่เหมือนกันคับ มีอะไรแนะนำก็บอกกันบ้างนะ ส่งมาเมลนี้ได้นะ หรือที่เฟรทบุ๊คก็ได้ ขอบคุณคับ

สวนอยู่ที่ใหนครับ เพราะผมกำลังเริ่มทำอยู่ อยากไปดูเป็นตัวอย่างครับ อ่อ ผมจะเลี้ยงกล้วยไม้ตะกูลช้างอยากทราบว่าควรใช้ ( สแลน กี่ -%- ครับ ) ขอบคุณครับ … ( ผมอยู่ สระบุรีครับ ) รออยู่นะครับตอบด้วยนะครับ

ต้องขอโทษด้วยนะครับ บทความนี้เป็นของคุณ kvissanu หากต้องการทราบที่อยู่ ให้กดที่ Link ชื่อ kvissanu ด้านบนได้เลยครับ

บทความยอดเยี่ยมมากครับ ขอบคุณเจ้าของเว็บที่นำมาให้ได้อ่านกันนะครับ แต่ทำไมผมดูรูปไ่ม่ได้ละคับ
ขอบคุณเจ้าของบทความ คุณ Kvissanu และขอบคุณ Ksw-inter.com ด้วยนะครับ ที่ได้นำมาให้ได้อ่าน