Categories
คำแนะนำสินค้า บทความ

ความเข้าใจผิด?

เกี่ยวกับพลาสติกโรงเรือน

เสียเวลา 5 นาที ดีกว่า เสียเงินเป็นหมื่น
แล้วไม่ได้ของที่ต้องการ??
? การปลูกพืชแบบเน้นคุณค่ามากกว่าปริมาณเป็นที่นิยม และแพร่หลายในประเทศไทยมาระยะหนึ่งแล้ว การใช้โรงเรือน(Greenhouse) จึงขยายตัวตามไปด้วย
☀️ หลายครั้งผู้ที่สนใจมักได้รับข้อมูลแปลกๆที่ไม่เป็นความจริง ซึ่งทำให้เราเป็นกังวลมาก เพราะ ความเข้าใจผิดบางอย่าง เมื่อลงทุนไปแล้วแก้ไขได้ยาก เสียเงินซ้ำซ้อน บางอย่างส่งผลต่อพืชที่ปลูก ลงแรงไปก็มาก แต่กลับไม่ได้สิ่งที่ต้องการ
?และเหมือนทุกๆครั้ง เพราะเราเชื่อว่า “ควรรู้ก่อนซื้อ ดีกว่าซื้อแล้วรู้ที่หลัง” เราจึงรวบรวมข้อมูลต่างๆแบบละเอียด เพื่อให้ผู้ซื้อ ผู้บริโภคได้ใช้งานแบบถูกต้อง ถูกลักษณะ ไม่เสียเงินซ้ำซ้อน

☀️ความเข้าใจผิดที่เราพบเจอบ่อยที่สุด คือ “พลาสติกกันแสง UV กี่ %”☀️

?เราคาดว่า น่าจะเกิดจากตัวเลข % ของสินค้า เช่น “พลาสติกโรงเรือน UV7%”  อาจทำให้ผู้อ่าน เข้าไปใจว่า พลาสติกโรงเรือนนี้ สามารถกรองแสง UV ได้ 7% ซึ่งไม่ถูกต้อง

?ในความเป็นจริงตัวเลข “UV7%” หมายถึง มีส่วนผสมของสารเพิ่มความทนทานต่อ UV (UV Resistant) ลงไปในเนื้อพลาสติก 7% มีผลให้พลาสติกทนทานสามารถใช้งานกลางแจ้งได้เป็นเวลานาน

☘️เช่น พลาสติกโรงเรือน UV3% กับพลาสติกโรงเรือน 7% พลาสติกโรงเรือนที่ผสมสารดังกล่าวมากกว่า ก็จะทนทานต่อแสงแดดได้ยาวนานกว่า (ถ้าพลาสติกนั้นผสมตามที่ระบุไว้จริงๆ)

“แล้วพลาสติกเราสามารถทำให้กรองแสง UV ได้จริงๆหรือไม่?”

?คำตอบคือ “เราสามารถทำได้ครับ”

☝️โดยศัพท์ที่เราใช้กับพลาสติกที่กรองแสง UV ได้จริงๆจะเป็นคำประมาณนี้ครับ

  • ? กันแสง UV (UV Block) หมายถึง พลาสติกสามารถปิดกั้นแสงในช่วงความถี่ 100-360 นาโนเมตรไม่ผ่านตัวพลาสติกได้
  • ? สะท้อนแสง UV(UV Reflect) หมายถึง พลาสติกสามารถสะท้อนแสงในช่วงความถี่ 100-360 นาโนเมตรไม่ผ่านตัวพลาสติกได้
  • ? ดูดซึมแสง UV (UV Absorber) หมายถึง พลาสติกมีสารที่ไวต่อแสง UV เมื่อมีแสงในช่วงคลื่น 100-300 นาโนเมตรเข้ามา ตัวสารเติมแต่งดังกล่าวจะดูดซึมไว้ แล้วสารดังกล่าวจะค่อยๆสลายไปตามการใช้งาน

ตัวพลาสติกอาจมีความสามารถกันแสงช่วงคลื่นที่แตกต่างกัน แล้วแต่สารเติมแต่งที่ผู้ผลิตใส่ลงไป

? ในโลกนี้มีพลาสติกแบบนี้ขายจริงๆไหม “มีครับ” ในบ้านเราก็มีครับ จะเป็นพลาสติกจากญี่ปุ่น หรือยุโรปบางประเทศ แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เพราะ ถือเป็นพลาสติกเฉพาะทาง มีผลต่อพืชหลากหลายแบบตามพันธุ์พืชที่ปลูก เช่น พืชบางพันธุ์ถ้าไม่มีแสงในช่วงคลื่น UV เลย จะไม่ออกสี สีไม่สวยก็ขายไม่ได้ เป็นต้น

ถ้าท่านต้องการพลาสติกชนิดนี้จริงๆ ควรศึกษารายละเอียดของพืชที่ปลูก และต้องขอเอกสารรับรองการปิดกั้นว่า ปิดช่วงคลื่นไหนได้บ้างก่อนการซื้อทุกครั้ง

? เมื่อทีมเทคนิคเราอธิบายตามรูปไปแล้ว จะมีคำถามต่อมาทันที่ คือ “ถ้ามันไม่ได้กันแสง UV ทำไมต้นไม้ในโรงเรือนจึงโตดี แต่ด้านนอกโรงเรือนกับตายละ?”

? แน่นอนว่าเราย่อมมีคำอธิบาย เหตุเกิดจาก “Light Transmission Ratio” หรือ “สัดส่วนแสงที่ส่องผ่านวัสดุ” พลาสติกโรงเรือนทั่วไปจะมีค่านี้อยู่ที่ 75%-90% เช่น 90% จะหมายถึง แสงมา 100 ผ่านเข้าโรงเรือนไป 90 อีก 10 จะถูกฟิลม์กันไว้ 

?ส่งผลให้แสงในทุกช่วงคลื่นไม่ว่าจะเป็น UV PAR และ IR ที่เข้าโรงเรือนมาน้อยลงทั้งหมด จึงเป็นคำอธิบายว่า “ทำไมต้นไม้ฉันถึงโตดีในโรงเรือน เพราะ โรงเรือนกรองแสงออกไปบางส่วนแล้ว แสงที่เหลือเข้ามาพอเหมาะกับต้นไม้พอดี แต่ข้างนอกอาจได้รับแสงมากเกินไป จึงตาย”

?ค่าดังกล่าวจะมาก-น้อยขึ้นกับปัจจัยต่อไปนี้

  • ? ฝุ่น พลาสติกโรงเรือนเมื่อผ่านการใช้งาน ผ่านฝนมาอาจมีฝุ่นเกาะ ทำให้แสงผ่านได้น้อยลง
  • ? วัตถุดิบ ถ้าเป็นวัตถุดิบที่ดี ไม่มีการปนเปื้อน จะมีค่าแสงผ่านที่ดี ถ้าเป็นวัตถุดิบที่ไม่ได้คัดมา อาจมีความขุ่นทำให้แสงผ่านได้น้อยลง

? ต้นเรื่องจริงๆ ต้องย้อนเวลากลับไปประมาณ 10-15 ปีที่แล้ว ที่เราเพิ่งเริ่มคุ้นชินกับการใช้พลาสติกโรงเรือน

☄️ มีบริษัทจำนวนมากเข้ามาทำตลาด และบางบริษัทก็พยายามลดต้นทุนด้วยวิธีการนำเม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่ไม่ได้คุณภาพเข้ามาผสม พลาสติกที่ไม่ได้คุณภาพเหล่านี้จะมีเอกลักษณ์บางอย่างที่แก้ไขไม่ได้ คือ “ความขุ่น” 

? และจากการแข่งขันทำให้มีการพูดเพื่อโจมตีคู่แข่งกันไปมา รวมถึงความขุ่น ความใสของเนื้อพลาสติก ทำให้มีความเชื่อว่า “พลาสติกที่ขุ่น เป็นพลาสติกที่ไม่ดี พลาสติกที่ดีต้องใส เงา เท่านั้น”

??ซึ่งนั้นเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียวเมื่อ 10 ปีที่แล้ว??

? ปัจจุบันเรื่องกลับตาลปัตรไปไกลมาก จากที่เกษตรกรเรามีการไปดูงานการเพาะปลูกพืชในแทบทะเลทราย(อิสราเอล) ซึ่งเค้ามีการใช้พลาสติกขุ่นที่ดูภายนอกก็เป็นพลาสติกขุ่นๆธรรมดา แต่กลับแฝงด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ในชื่อ “พลาสติกกระจายแสง : Diffused Film”?

? จากนั้นจึงเริ่มมีการนำ พลาสติกโรงเรือนรุ่นกระจายแสงเข้ามาใช้งานในประเทศไทย ซึ่งมีคุณสมบัติพร่าแสง (Diffused) ให้แสงที่เข้ามาในโรงเรือนมีการกระจายตัวสว่างทั่วทั้งโรงเรือน ปัจจุบันเราสามารถผลิตและส่งออกได้แล้ว

นอกจากพลาสติกโรงเรือนที่มีคุณสมัติ Diffused แล้ว ในประเทศไทยมีการใช้พลาสติกโรงเรือนที่มีคุณสมบัติพิเศษอื่นๆอีกหลากหลายแบบ เช่น 

?ในพื้นที่ๆมีปริมาณฝนมาก และเกิดหยดน้ำเกาะบริเวณหลังคา พลาสติกที่มีคุณสมบัติผิวมันลื่น (Anti-dripping film)จะเข้าไปช่วยให้น้ำไม่เกาะตัว ลดการเกิดเชื้อราได้ดี

?ในพื้นที่ๆมีปริมาณการจราจรค่อนข้างเยอะ ฝุ่นไปเกาะโรงเรือนมากๆจนแสงผ่านน้อย ก็สามารถใช้พลาสติกโรงเรือนที่มีคุณสมบัติกันฝุ่นเกาะ (Anti-dusting film)ได้ เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล

☃️ในพื้นที่ๆต้องการลดอุณหภูมิในโรงเรือนลง ก็สามารถใช้พลาสติกที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสงช่วงคลื่นอินฟาเรด (Cooling film) ลดช่วงคลื่นของแสงที่ไม่ต้องการเข้ามาในโรงเรือนได้

?“หนาแล้วทนกว่าบางรึเปล่า?” “หนาเท่าไหร่ถึงจะดี?” เป็นคำถามเราเจอกันบ่อย แต่กลับเป็นคำถามที่ยากจะตอบ ส่วนหนึ่งเกิดจากความเข้าใจผิดของตัวคำถามเอง เช่น 

“พลาสติกหนา 200 ไมครอน ใช้ได้นานกว่า(หรือทนทาน) 100 ไมครอนใช่ไหม??”

การตอบคำถามนี้ เราต้องแยกมาเป็นข้อๆก่อน

?ความทนทานต่อแสงแดด ถ้าพลาสติกผสมสารเพิ่มความทนทานต่อ UV เท่ากัน ต่อให้ความหนาต่างกัน ความทนทานต่อแสงแดดย่อมไม่ต่างกันมากนัก 

คำถามที่ว่า “หนากว่า=ทนแดดได้นานกว่า” จึงไม่จริง?

✌️ความทนทานต่อแรงกระทำอื่นๆ เช่น แรงลม หนูแทะ ฝนตก ความร้อน ลูกเห็บ ความหนามีผลต่อแรงกระทำในส่วนนี้แน่นอน 

คำถามที่ว่า “หนากว่า=ทนพายุได้ดีกว่า” จึงเป็นจริง?

เวลาที่พิจารณาเรื่องความหนาจึงควรมองสภาพแวดล้อมที่ปลูก เช่น 

ปลูกในเมือง ลมไม่แรง มีตึกบัง จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้พลาสติกที่หนามากๆ แต่ถ้าเป็นกลางทุ่ง ลมแรง ไม่มีอะไรบังลมเลย สมควรใช้พลาสติกที่มีความหนาจึงจะเหมาะสม

?ในเรื่องของความหนา คำถามถัดมาที่เราพบเจอ คือ 

“รอบที่แล้ว ผมซื้อพลาสติกหนา 150 ไมครอนมากจากเจ้าหนึ่ง….มันขาด รอบนี้ผมควรซื้อ 200 ไมครอนเลยไหมครับ?”?

คำตอบแบบจริงจัง แบบไม่อยากขายของเลย คือ “ผมก็ไม่รู้ครับ?” เนื่องจากผู้จำหน่ายพลาสติกบ้านเราให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านราคามาก โดยแทบไม่สนใจรายละเอียดด้านคุณสมบัติ และในความเป็นจริงเวลาที่ซื้อ-ขายกัน ตัวเราเองก็ไม่ค่อยสนใจ จึงเป็นเหตุให้คำถามนี้ตอบยากมากๆ

?ผลลัพท์ของการไม่สนใจรายละเอียด คือ เราไม่รู้เลยว่าพลาสติกที่เราได้มานั้นมันดีหรือมันแย่ รู้แค่เราซื้อมาราคาไม่แพง(มั้ง?) เช่น

พลาสติกโรงเรือนเจ้า A ราคา 3,100 บาท รับแรงฉีกขาดได้ 300 Kgf/m.

พลาสติกโรงเรือนเจ้า B ราคา 3,000 บาท รับแรงฉีกขาดได้ 270 Kgf/m.

โดยพลาสติกโรงเรือนทั้ง 2 เจ้า มีความหนาเท่ากัน

ถ้าเราไม่มองปัจจัยอื่นๆเลย พลาสติกเจ้า B ย่อมดีกว่า แต่เมื่อมองปัจจัยอื่นๆ เราจะเริ่มมองว่า A ดีกว่า 

ลูกค้าซื้อพลาสติก B ที่ความหนา 100 ไมครอน มีพายุเข้า พลาสติกขาด แต่ถ้าลูกค้าซื้อพลาสติก A พายุลูกเดียวกัน อาจจะไม่ขาด เพราะสามารถรับแรงได้มากกว่า

คำตอบ ก็คือ เราควรขอเอกสารรับรองต่างๆมาเปรียบเทียบ เพื่อให้การซื้อของเราคุ้มค่าที่สุด

One reply on “ความเข้าใจผิด?”

อ่านแล้วได้ความรู้ดีค่ะขอบคุณมากจะถามว่าพลาสติกคลุมดินที่ไม่ให้น้ำเข้ามีแบ่งขายไหมคะแล้วผ้าพลาสติกที่เป็นสีดำที่เคยสั่งน้ำผ่านได้ใช่ไหมคะ