Categories
รายละเอียดสินค้า

ประกาศหยุดทำการ วันเข้าพรรษา

เข้าพรรษา
ทางบริษัทขอปิดทำการ ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2558 ถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2558 เนื่องในโอกาส วันเข้าพรรษา และเปิดทำการในวันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

รู้จักความเป็นมาและข้อมูลของวันเข้าพรรษา

การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน

วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์เริ่มอยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 จนถึงกลางเดือน 11 วันเข้าพรรษาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้มีอยู่ 2 วันคือ

– วันเข้าปุริมพรรษา คือวันเข้าพรรษาแรก ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไปจนถึงวันเพ็ญกลางเดือน 11
– วันเข้าปัจฉิมพรรษา  คือวันเข้าพรรษาหลัง ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 9 ไปจนถึงวันเพ็ญเดือน 12
เมื่อเข้าพรรษาแล้วหากภิกษุมีกิจธุระจำเป็น อันชอบด้วยพระวินัย พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้ไปได้ โดยมีข้อจำกัดว่าจะต้องกลับมายังสถานที่จำพรรษาเดิมภายใน 7 วัน ที่เรียกว่า สัตตาหกรณียะ ดังต่อไปนี้

1.   เมื่อทายกทายิกา ปราถนาจะบำเพ็ญกุศล เมื่อมานิมนต์ก็ให้ไปเพื่อรักษาศรัทธาได้
2.   ถ้าสงฆ์ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเกิดอธิกรณ์ขึ้น ก็ให้ไปเพื่อระงับอธิกรณ์ได้
3.   ถ้าบิดา มารดา ญาติ พี่น้อง พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ เป็นไข้ เมื่อทราบก็ให้ไปได้
4.   พระวิหารในที่แห่งอื่นเกิดชำรุดเสียหาย ให้ไปหาสิ่งของเพื่อมาปฏิสังขรพระวิหารนั้นได้
5.   เมื่อถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น พระวิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกน้ำท่วม ก็ให้ไปจากที่นั้นได้
6.   เมื่อชาวบ้านถูกโจรปล้น อพยพหนีไป ก็ให้ไปกับพวกชาวบ้านได้โดยให้ไปกับชาวบ้านที่มีความเลื่อมใสศรัทธา สามารถที่จะให้ความอุปถัมภ์ได้
7.   เมื่อที่ใดเกิดความขาดแคลน อาหารหรือยารักษาโรค ขาดผู้อุปถัมภ์บำรุง ได้รับความลำบากก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้
8.   ถ้าหากมีผู้เอาทรัพย์มาล่อ ก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้
9.   หากภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์แตกกันหรือมีผู้พยายามจะให้แตกกัน ถ้าการไปจากที่นั้นสามารถระงับการแตกกันได้ ก็อนุญาตให้ไปได้

ใน วันเข้าพรรษา ถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ จะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา ภิกษุจะอธิษฐานใจตนเองว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า

อิมสฺมึ  อาวาเส  อิมํ  เตมาสํ  วสฺสํ  อุเปมิ    หรือ    อิมสฺมึ  วิหาเร  อิมํ  เตมาสํ  วสฺสํ  อุเปมิ แปลว่า  ข้าพเจ้าขออยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในอาวาสนี้ หรือในวิหารนี้  (ว่า 3 ครั้ง)  หลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้วก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปนมัสการปูชนียวัตถุที่สำคัญในอาวาสนั้น  ในวันต่อมาก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระเถระที่ตนเคารพนับถือ

 

Categories
รายละเอียดสินค้า

วันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ วันแม่แห่งชาติ

mom-day

 

เนื่องจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ประกาศวันหยุดเพิ่มอย่างเป็นทางการอีก 1 วัน ในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ วันแม่แห่งชาติ ได้แก่ วันที่ 11 สิงหาคม

ทางบริษัทจึงของประกาสหยุดทำการในวันที่ 11-12 สิงหาคม และเปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 13 สิงหาคม

Categories
รายละเอียดสินค้า

หยุดเทศกาลตรุษจีน

chinese-new-year-2014-horse

บริษัท คงสวัสดิ์ อินเตอร์เทรด จำกัด จะให้บริการวันสุดท้าย ณ วันที่ 29 มกราคม เวลา 15:00 น และจะกลับมาให้บริการตามเวลาทำการปกติอีกครั้งในวันจันทร์ 3 กุมภาพันธ์

ก่อนจากกันในช่วงวันตรุษจีนนี้ ขอฝากคำอวยพรและคำสวัสดีปีม้านี้ไปยังทุกๆท่านที่เค้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราด้วยครับ

新正如意 新年发财

ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ

คิดหวังสิ่งใดขอให้สมหวังสมปรารถนาในปีใหม่นี้ มีแต่ความสุขมั่งคั่ง โชคดีร่ำรวยตลอดปี (ถ้าเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วจะออกเสียงว่า ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้)

ขอบคุณครับ

Categories
บทความ รายละเอียดสินค้า

เห็ดฟางในโรงเรือน วิสันต์ฟาร์ม

วีดีโอสาธิตการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน โดยวิสันต์ฟาร์ม

Categories
รายละเอียดสินค้า

ภูมิปัญญาท้องถิ่น(การถักแห)

Categories
รายละเอียดสินค้า

ปรับกลยุทธ์แก้ปัญหาผลไม้ราคาตก

ผลไม้เป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทย ปัจจุบันมีเกษตรกรประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ ประมาณ 1.923 ล้านครัวเรือน มีพื้นที่ปลูกกว่า 8.176 ล้านไร่ ได้ผลผลิตรวม 7.468 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 90,361 ล้านบาท โดยมีผลไม้เศรษฐกิจหลัก 6 ชนิด ได้แก่ ลำไย ทุเรียน มังคุด เงาะ มะม่วง และลองกอง ซึ่งแต่ละปีมีการส่งออกไม่น้อยกว่า 29,658 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม การผลิตผลไม้ไทยยังมีปัญหาผลผลิตออกสู่ตลาดกระจุกตัวพร้อมกัน ทำให้ไม่สามารถหาตลาดรองรับได้ทัน ส่งผลให้เกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำแทบทุกปี ทำให้ภาครัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการแทรกแซงราคาจำนวนมาก

นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวง เกษตรฯมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมประชุมหารือกับสมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย ตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ สหกรณ์ ผู้รวบรวมสินค้า ผู้แทนตลาดกลางขนาดใหญ่ทั้งในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้า และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อกำหนดแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตผลไม้ตกต่ำทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อพัฒนา การผลิตและตลาดผลไม้ให้เกิดความเข้มแข็ง ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นผู้นำการผลิตและตลาดผลไม้เมืองร้อนของโลกต่อไป

ทางด้าน นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวเพิ่มเติมว่า ปี 2556 นี้ คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้อนุมัติงบประมาณในภาพรวม จำนวนทั้งสิ้น 462,879,500 บาท เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาผลไม้หลายชนิด เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลิ้นจี่ และลำไย ซึ่งเป็นกลุ่มผลไม้เศรษฐกิจที่มักมีปัญหาราคาตกต่ำ โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้ร่วมกับจังหวัดแหล่งผลิตจัดทำแผนเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาของจังหวัด (คพจ.) เพื่อสนับสนุนกลไกตลาดให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น ด้วยการบริหารจัดการผลผลิตช่วงที่ออกสู่ตลาดมากภายใต้ 4 มาตรการหลัก  คือ 1. มาตรการพัฒนาคุณภาพผลผลิตซึ่งใช้เฉพาะการป้องปรามทุเรียนอ่อนเข้าสู่ตลาด 2. มาตรการเร่งรัดกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต ด้วยการสนับสนุนเงินจ่ายขาดแก่กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นค่าขนส่งและค่าการตลาดเหมาจ่ายจากแหล่งผลิตสู่ตลาดปลายทางอัตรา  2.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็นค่าขนส่ง 1.50 บาท และค่าการตลาดเหมาจ่าย 1.00 บาท 3. มาตรการส่งเสริมการแปรรูปโดยจะสนับสนุน เงินชดเชย อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี ให้แก่สถาบันเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน

เพื่อกู้ยืมเงินจากแหล่งทุนต่าง ๆ เช่น ธ.ก.ส. ธนาคารกรุงไทย และเอสเอ็มอี เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการแปรรูป และ 4. มาตรการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการบริโภค ด้วยการจัดงานรณรงค์การบริโภคผลไม้ร่วมกับจังหวัดปลายทาง พร้อมประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยในตลาดต่างประเทศด้วย

นอกจากนี้แล้ว ทางกระทรวงเกษตรฯ ยังมีนโยบายเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัยมากขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ ทั้งยังเน้นให้พัฒนากระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้ และส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผลไม้ให้มีความหลากหลาย เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทางการค้าด้วย

คาดว่าจะช่วยลดภาระภาครัฐในการแทรกแซงราคาและสามารถช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศได้ค่อนข้างมาก.

ที่มา : เดลินิวส์

Categories
รายละเอียดสินค้า

แหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้วิชาของแผ่นดิน

แหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้วิชาของแผ่นดิน

นางจารุรัฐ จงพุฒิศิริ ผู้อำนวย    การสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า ในโอกาสย่างก้าวปีที่ 15 ของพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พิพิธภัณฑ์ฯ ได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาในหลาย ๆ ด้าน เน้นการเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดองค์ความรู้วิชาของแผ่นดินให้แก่ประชาชนมากขึ้น เพื่อจะได้นำวิชาชีพเหล่านั้นไปประกอบอาชีพและสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

“ในหลวงของเราทรงทำนา เกี่ยวข้าวและมีที่นาของพระองค์เองในสวนจิตรลดา พระองค์เป็นถึงพระมหากษัตริย์แต่ยังคงให้ความสำคัญในการทำนา การทำเกษตรนับเป็นแบบอย่างที่ดีกับคนไทยและเกษตรกรไทย” นางจารุรัฐ กล่าวผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ เปิดเผยด้วย       ว่า จากแนวทางดังกล่าวทุก ๆ เสาร์และอาทิตย์สัปดาห์แรกของเดือนทางพิพิธ ภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จึงจัด “ตลาดนัดองค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง” ขึ้น ซึ่งตลาดนัดดังกล่าวจะมีความแตกต่างจากตลาดนัดอื่น ๆ คือ เป็นตลาดนัดองค์ความรู้และการเรียนรู้ด้านเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ที่สามารถมาเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รู้จริง ทำจริง ได้ผลจริงทุก ๆ เดือนจะมีเครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเกษตร ที่เป็นเครือข่ายทางวิชาการมาถ่ายทอดองค์ความรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพึ่งตนเอง มีการจัดอบรมวิชาของแผ่นดิน 8 หลักสูตรและฐานเรียนรู้ด้านการเกษตร 4 ภูมิภาค ซึ่งบุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นเกษตรกรที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติใช้ในพื้นที่ของตนเองและได้ผลจริงแล้วนำมาถ่ายทอด
นอกจากนี้ก็ยังมีเครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเกษตรทั่วประเทศทั้ง 4 ภูมิภาค กว่า 80 ร้านค้า มาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในหลักสูตรต่าง ๆ ซึ่งแต่ละหลักสูตรจะอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจได้โดยง่าย อาทิ การทำผงนัวเป็นผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ผลิตจากผักพื้นบ้าน ที่ใช้แทนผงชูรสที่รู้จักกันทั่ว ๆ ไปได้ จะมีการสาธิตโดยเครือข่ายอินแปง จ.สกลนคร การทำบัวลอยสีจากสมุนไพรและผักพื้นบ้าน โดยกลุ่มเกษตรอินทรีย์อำเภอสนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา

พร้อมกันนี้ก็ยังมีเครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเกษตรมาแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตร ผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพที่เน้นวิถีการผลิตแบบพึ่งตนเอง มาจำหน่ายในราคายุติธรรมอีกด้วย และนอกจากตลาดนัดองค์ความรู้แล้วก็ยังมี “ฐานการเรียนรู้” ที่มุ่งเน้นการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาจัดแสดงอีกด้วย อาทิ ฐาน 1 ไร่พอเพียง ซึ่งจะสาธิตวิถีเกษตรแบบพึ่งตนเอง เช่น การทำนา ปลูกผัก สมุนไพร ไม้ผล เพาะเห็ด เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ หมูหลุม การทำปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ การทำบ้านดิน การใช้โซลาร์เซลล์ต้นทุนต่ำเพื่อผลิตไฟฟ้าในบ้านเรือนและการเกษตร การทำเตาแก๊สชีวภาพ เป็นต้น

หรือฐานเกษตรพอเพียงเมือง จะนำเสนอต้นแบบเกษตรสำหรับคนเมืองที่มีพื้นที่น้อย เพื่อการพึ่งตนเองในการผลิตอาหารปลอดสารพิษ ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มพื้นที่สีเขียวและช่วยลดโลกร้อน เช่น การปลูกผักในบ่อซีเมนต์ การปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์ การปลูกพืชบนดาดฟ้า การนำขยะในครัวเรือนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ฐานมหัศจรรย์เกษตรไทย เป็นการนำเสนอความรู้แปลกใหม่ทางการเกษตรที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ เช่น การปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์วงใหญ่ มะละกอตอนกิ่ง ปลูกผักในน้ำ และฐานนวัตกรรมที่อยู่อาศัย ที่เป็นการนำเสนอบนฐานความคิดของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ มาสร้างเป็นที่อยู่อาศัย ง่ายและประหยัด ตลอดถึงฐาน 9 ไร่ 9 แสน ที่เน้นการประยุกต์ใช้เกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นำมาพัฒนาในพื้นที่แปลงขนาดเล็ก ด้วยการทำเกษตรแบบผสมผสานและเทคโนโลยีสรรพสิ่งอะตอมมิคนาโน

ส่วนตลาดนัดประจำเดือนกรกฎาคมนี้ จะเป็น“ตลาดนัดเศรษฐกิจพอเพียง” ที่เน้นองค์ความรู้เกี่ยวกับ “มหัศจรรย์ผักพื้นบ้าน” สามารถเข้าเยี่ยมชมและฝึกอบรมวิชาชีพด้านต่าง ๆ ที่  เปิดการอบรมฟรี ในระหว่างวันที่ 7-8 กรกฎาคม 2555 นี้ตั้งแต่เวลา 10.00-19.00 น. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.wisdomking.or.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0-2529-2212-13 ในวันและเวลาราชการ.

ที่มา : ข่าวเกษตรเดลินิวส์